เผยแพร่ผลงาน
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์
และตัวตั้งไม่เกิน 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย พิศมัย แซ่โฮ้ว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 4
( สิทธิไชยอุปถัมภ์ ) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียน
เทศบาล 4 ( สิทธิไชยอุปถัมภ์ ) ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดเทศบาลนคร
สมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตาม
ลักษณะของการใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 13 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ และผลงานนักเรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง ที่มีการวัดผล หลังทดลองอย่างเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ และสรุปความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียน เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและ
การลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ คิดเป็นร้อยละ 80.85 และมีนักเรียนร้อยละ 86.96 ของนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฏี คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวกและการลบที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.77 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.09 แสดงว่า นักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ผลที่ได้จากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการตรวจผลงาน พบว่า นักเรียนมีโอกาสพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการแก้ปัญหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อย ซึ่งส่งผลให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ มีความรับผิดชอบ มีเหตุผล ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรอบคอบในการทำงาน กล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในตนเอง