รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ขอ
ผู้ประเมิน นายจำลอง เพชรมณี รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าบอนพิทยาคม
หน่วยงาน โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม อำเภอป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2557
บทสรุปของผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชากร ครู จำนวน 36 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม (ยกเว้นผู้อำนวยการและตัวแทนครู) จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่าง นักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 186 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 186 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.8100-0.9197 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ โดยภาพรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลสำเร็จของโครงการของการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ พบว่า โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ของการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ พบว่า โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนป่าบอนพิทยาคม ปีการศึกษา 2556 จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มากกว่า ร้อยละ 80 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้ “กิจกรรมประสานใจพัฒนาวินัยนักเรียน” โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2556 โดยรวมพบว่าทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
2. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
3. ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ตามบริบทสภาพของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
3. ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป