นายเล็ก กุดวงค์แก้ว สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต
ชื่อ นายเล็ก กุดวงค์แก้ว อายุ 55 ปี
นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว นับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสานอีกท่านหนึ่ง ที่ได้เผยแพร่แนวความคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืน เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจวัฒนธรรม โดยมีรูปธรรมการปฏิบัติอย่างชัดเจน แนวทางการปฏิบัติดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ ที่ไม่แยกการศึกษาจากชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษา ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อxxxล ศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเพื่อลดการเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น
ชีวิตของนายเล็กในระยะต้นไม่แตกต่างจากชาวบ้านบ้านบัว หรือหมู่บ้านใกล้เคียงที่ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาภูพาน ชาวบ้านจะถางป่าเพื่อปลูกปอตั้งแต่ พ.ศ. 2507 และเพื่อปลูกมันสำปะหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ระหว่างนั้นก็เกิดตั้งคำถามว่า ทำไมยิ่งปลูกพืชเศรษฐกิจ ยิ่งจน ยิ่งเป็นหนี้สิน คำตอบที่นายเล็กได้รับมาจากการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ให้ความคิดเรื่อง “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน” หรือการใช้ชีวิตแบบพออยู่ พอ กิน เหมือนในอดีต
ในปี พ.ศ. 2530 จึงหันมาศึกษาป่าธรรมชาติบทเทือกเขาภูพานใกล้บ้านบัว จากนั้นจึงจัดระบบชีวิตของตนเองและครอบครัวเสียใหม่ โดยใช้แนวคิด “ยกป่าภูพานมาไว้ที่บ้าน” และความคิด “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” บ้านเกิดและบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน โดยนำพืชพื้นบ้านประมาณ 200 ชนิดมาปลูกในดินของตนเองประมาณ 5 ไร่ ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ถือเป็นการ “สร้างป่าใหม่ให้ชีวิต” และได้ขุดสระน้ำ 2 บ่อ เพื่อเป็น “แม่น้ำสายใหม่ให้ครอบครัว” เมื่อทดลองได้ผลจึงขยายพื้นที่เป็น 23 ไร่เพื่อให้พอเลี้ยงครอบครัว ซึ่งมีสมาชิก 14 คน ในพื้นที่ปลูกทั้งไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้ยืนต้นหลายชนิด และเลี้ยงทั้งวัว ควาย ไก่พื้นบ้าน ในที่สุดก็สามารถปลดหนี้สินลูกหลานไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
ในช่วงปีพ.ศ. 2530 – 2532 ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยกลุ่มชนชาติพันธุ์เผ่ากะเลิงบ้านบัว ตำบลกุดบาก ที่ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นวิทยาลัยครูสกลนคร (ปัจจุบัน คือ สถาบันราชภัฏสกลนคร) ร่วมกับสถาบันพัฒนาชนบท ก่อให้เกิดแนวความคิดร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและชุมชน
ในปี พ.ศ.2532 จึงรวมกลุ่มกันเละตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” ซึ่งในช่วงแรกได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์หวายที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คนเเละเริ่มทำการเพาะขยายพันธุ์หวายพื้นบ้านเอง
ในปี พ.ศ. 2534 เปลี่ยนชื่อจาก “กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” เป็น “กลุ่มอินแปง” ซึ่งพ่อบัวศรี ศรีสูง ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้ตั้งให้
ปี พ.ศ.2535 นำเงินกองทุนไปซื้อที่ดินเพื่อเป็นจัดตั้งสถานที่ในการติดต่อประสานงาน แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา ศึกษาทดลองทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและหมู่บ้านของตนจำนวน 5 ไร่ 1 งาน และได้ทำโครงการเลี้ยงหมูพื้นบ้านเพื่อสร้างรายได้เสริมให้สมาชิกของกลุ่ม
ต่อมาในปี พ.ศ.2535-2536 กลุ่มอินแปงได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลัก ในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนในพื้นที่รอบป่าเทือกภูพาน และได้มีคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชนเข้ามาทำหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่มอินแปง และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นมากขึ้น โดยเริ่มประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
แนวคิดที่ได้
การเรียนรู้ ที่ไม่แยกการศึกษาจากชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษา ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อxxxล ศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเพื่อลดการเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น
ผลงาน
- พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในผู้นำก่อตั้งกลุ่มอินแปง ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายประมาณ 600 ครอบครัว 5 อำเภอ ใน 3 จังหวัด
- พ.ศ. 2542 ขยายเครือข่ายสู่พื้นที่ 12 ตำบล 10 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร
- พ.ศ. 2543 ร่วมกำหนดแผนแม่บทชุมชน ร่วมกับเครือข่ายภูมิปัญญาไทเสนอโครงการจัดสวัสดิการชุมชนเร่งด่วนเพื่อผู้ยากลำบากของเครือข่าย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 15 ล้านบาท จากองทุนทางสังคม (SIF – MENU 5)