LASTEST NEWS

27 ส.ค. 2567โรงเรียนสามัคคีวิทยา(เชื้อผู้ดีอุปถัมภ์) รับสมัครเจ้าหน้าที่ธุรการ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 กันยายน  2567 27 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง จำนวน 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 30 สิงหาคม 2567 27 ส.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด เรื่อง การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ/ค่าจ้างลูกจ้างประจำ/ค่าตอบแทนพนักงานราชการ ในส่วนกลาง ครั้งที่ 2 (1 ตุลาคม 2567) 27 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดบางคูวัด รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 13 กันยายน 2567 27 ส.ค. 2567สพป.อุทัยธานี เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 26 - 30 สิงหาคม 2567 27 ส.ค. 2567เลขาธิการกอศ.เตือนหย่าหลงกลลวงมิจฉาชีพ หลอกสอบบรรจุครูผู้ช่วยอาชีวะ 27 ส.ค. 2567ประกาศ ราชกิจจาฯ แล้ว เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ข้าราชการ-ลูกจ้างประจํา 26 ส.ค. 2567ขั้นตอนการกรอกใบสมัครสอบครูผู้ช่วย กทม. ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 540 อัตรา รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต 27 สิงหาคม - 2 กันยายน 2567 นี้ 26 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดดอนไก่ดี รับสมัครผู้ช่วยครู 18 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่ 26 - 30 สิงหาคม 2567 26 ส.ค. 2567หนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 5151 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2567 เรื่อง ซักซ้อมการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ/เลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำ/เลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ ครั้งที่ 2

ประเภทชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้พิทักษ์ขุมทร

usericon

ประเภทชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้พิทักษ์ขุมทร
ประเภทชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ผู้พิทักษ์ขุมทรัพย์ก้นอ่าวไทย    
ชื่อชุมชน : กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ต.บางขุนไทร อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
พื้นที่ป่า : พื้นที่ชายฝั่งทะเลประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 11 หมู่บ้าน 1 ตำบล ประชากร 7,471 คน
พื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 27 ตารางกิโลเมตร ที่ทอดยาวไปตามชายฝั่งด้านตะวันออกของตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านเเหลม จังหวัดเพชรบุรี อาจดูน้อยนิดเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 6,000 ไร่ บริเวณภาคกลางหรือก้นอ่าวไทย แต่ทว่าผืนป่าและชายฝั่งทะเลแห่งนี้คือ “แหล่งผลิตหอยแครงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หอยแครงตามธรรมชาติแหล่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ด้วย โดยมี “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล” หรือ หมู่บ้านกระดานถีบ เป็นแกนกลาง รักษา “ขุมทรัพย์” แห่งนี้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน
เมื่อถึงวันน้ำลงบริเวณหาดโคลนที่ทอดยาวไปตามโค้งอ่าวบางขุนไทร จะคราคร่ำไปด้วยผู้คนที่สาละวนอยู่กับการถีบกระดานหาหอยแครง ที่ฝังตัวอยู่ตามโคลนเลน นี่คือวิถีชีวิตของ “หมู่บ้านกระดานถีบ” ที่สืบทอดภูมิปัญญาการหาอยู่หากินจากบรรพบุรุษมานานนับร้อยปีแล้ว สะท้อนถึงความเคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติ เก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยสองมือสองเท้าอย่างพอเพียงและรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด เพียงกระดานแผ่นเดียว พวกเขาก็สามารถโลดแล่นไปบนทะเลโคลน เก็บเกี่ยวหอยแครงตามแรงกำลังไม่แบ่งแยกว่าใครประกอบอาชีพอะไร แต่ละเดือนธรรมชาติจะผลิตหอยแครง ให้พวกเขาเก็บได้ประมาณ 22 วัน ผลผลิตที่ได้ราว 220 ตันต่อเดือน ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความอุดมของทรัพยากรจากชายฝั่งทะเลแห่งนี้ได้อย่างดี ชาวบ้านแถบนี้กว่า 400-500 ครอบครัว มีรายได้ยังชีพจากหอยแครงไม่น้อยกว่า 200-300 บาทต่อวัน ทำให้ทรัพยากรเหล่านี้ยังคงอยู่ให้พวกเขาได้กินได้ใช้ตลอดมา
พ.ศ. 2534 “เรือคราดหอย” สัญลักษณ์แห่งการกอบโกยก็รุกล้ำเข้ามาจากตำบลอื่น เรือคราดหอยสามารถจับหอยแครงได้ถึง 30 กิโลกรัมภายในเวลา 30 นาที ขณะที่ชาวบ้านต้องใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง ชาวบ้านหลายครอบครัวต้องละทิ้งถิ่นฐานอพยพไปหางานทำที่อื่น ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันหน้ามาพูดคุยกันหาหนทางที่จะปกป้อง และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างกันให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนถาวร โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่านี่คือความหมายหนึ่งของการ “อนุรักษ์”
ในปี พ.ศ.2535 จากการเริ่มประชุม กติกาชุมชน โดยมีกฎดังนี้ ห้ามชาวบ้านใช้เครื่องมือใดๆ ในการเก็บหอยแครง จะต้องเก็บด้วยมือเปล่าเท่านั้น และห้ามเก็บหอยที่มีขนาดเล็กกว่า 6 มิลลิเมตร ป้องกันการสูญพันธุ์ ส่วนกลุ่มเรือคราดหอย โดยมีข้อตกลงร่วมกัน ห้ามเรือคราดหอยคราดเข้ามารุกล้ำ ระยะห่างไกลจากพื้นที่ชายฝั่ง 3 กิโลเมตรแต่ข้อตกลงก็มิใช่ข้อยุติ เพราะต่อมาไม่นานปัญหานี้ก็เกิดขึ้นอีก
ในปี พ.ศ.2536 “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล” จึงเกิดขึ้นจากการวมตัวกันของชาวบ้านทุกสาขาอาชีพในตำบลบางขุนไทร ด้วย “จิตสำนึกสาธารณะ” ที่พวกเขาบอกว่า “การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน จะไปรอแต่หน่วยงานภาครัฐอย่างเดียวคลไม่ได้” จากอาสาสมัคร 36 นาย ในครั้งแรก ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกเป็นทางการประมาณ 60 คน มีการจัดโครงสร้างกลุ่มชัดเจนมากขึ้น ยังคงปฏิบัติการตรวจตราปราบปรามและจับกุมผู้กระทำความผิด ในเขตพื้นที่อนุรักษ์เช่นเดิม โดยมีชาวบ้านที่เก็บหอยแครง 400-500 ครอบครัว เป็นสมาชิกตามธรรมชาติคอยส่งข่าวคราวการบุกรุกของเรือคราดหอยให้ทราบ
เรืออีป๊าบ” เรือตรวจการณ์ลำเล็กๆ ที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้าน คือ อาวุธขอบชุมชนที่ต่อสู้กับการรุกล้ำของนายทุนด้วย “เรือคราดหอย” ซึ่งอาจเทียบกันไม่ได้แต่พวกเขาก็ไม่เคยท้อแท้ใจ “นักสู้แห่งบางขุนไทร” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ด้านหลังเสื้อที่สมาชิกในกลุ่มใส่ออกปฏิบัติงาน บ่งบอกถึงเลือดนักสู้น้ำเค็มที่ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ และในที่สุดความมุ่งมั่น ทุ่มเทของพวกเขาก็เป็นที่ประจักษ์แก่ชุมชน
ปี พ.ศ.2538 พวกเขาจึงมี “เรือบ๊วย” ลำใหญ่ที่ได้จากการระดมทุนของชาวบ้านทุกสาขาอาชีพมาเป็นเรือตรวจการณ์ที่พอจะต่อกรกับเรือคราดหอยได้ เป็นสมบัติส่วนรวมที่ชาวบ้านทุกคนภาคภูมิใจ รักษาป่าชายเลน รักษาบ้านของสรรพชีวิต ทำให้หอยแครงมีมากขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มกลับมาหากินในท้องถิ่น
แนวคิดที่ได้
การจะเป็นนักอนุรักษ์ได้นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยากอนุรักษ์ไว้ก็ได้ เพียงขอให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และทำอย่างมีแบบแผนสม่ำเสมอ อย่างเช่นอาสาสมัคร 36 นาย ในครั้งแรกของคนบางขุนไทร

ความสำเร็จและยั่งยืนของโครงการ
กลุ่มองค์กรท้องถิ่นเข้มแข็ง มีกระบวนการกลุ่ม ระบบการทำงานโครงสร้างชัดเจน เปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วม และการเข้าไปอยู่ในองค์กรบริหารส่วนตำบลทำให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านทุกคนมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน ช่วยกันดูแลรักษา โดยบริจาคเงินสมทบเป็นกองทุนอนุรักษ์ครอบครัวละ 10 บาทต่อเดือน
รักษาพื้นที่ป่าชายเลน 400 – 500 ไร่ และชายฝั่งทะเลประมาณ 27 ตารางกิโลเมตรไว้ได้ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะเป็น “แหล่งเพาะพันธุ์หอยแครงตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแหล่งสุดท้ายของประเทศไทย”
ชาวบ้านในชุมชนมีงานทำตลอดปี ไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน มีรายได้ประมาณวันละ 200 – 300 บาท
เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การเกิดประชาสังคม โดยเกิดการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่น ทำงานประสานเชื่อมโยงกัน โดยมีเวทีชาวบ้านเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น นำมาซึ่งความสำเร็จในการจัดทำ “ประชาคมตำบลบางขุนไทร”
17 ธ.ค. 2557 เวลา 14:35 น. 0 968
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^