เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ผู้รายงาน นางอาอีชะห์ วันหะยี
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านบือมัง สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบือมัง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนด้านการอ่าน ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักบูรณาการของ เมอร์ดอกซ์ (MIA) จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) แบบปรนัย ชนิดถูกผิด(True-False) จำนวน 10 ข้อ ชนิดเลือกตอบ(Multiple Choices) จำนวน 20 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักบูรณาการของ เมอร์ดอกซ์ (MIA) ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบือมัง ที่สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.42/ 80.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลัก บูรณาการของเมอร์ดอกซ์(MIA) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบือมัง พบว่า หลัง การจัดการเรียนรู้ มีคะแนนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ มีความก้าวหน้าสูงขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ย(x-bar ) เท่ากับ 12.87 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละ เท่ากับ 42.92
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้หลักบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบือมัง ความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar =4.65, S.D. = 0.40 )