การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ป.5. รร. ศส.มส.
ปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน
ผู้รายงาน นางอารมย์ อำพันธุ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่รายงาน ๒๕๖๐
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E๑ / E๒ = ๘๐ / ๘๐ ๒. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน ๑๐ คน (๑ ห้องเรียน) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน จำนวน ๗ เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ ๑ เรื่องการอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีตัวสะกดแม่กน เล่มที่ ๒ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีตัวสะกดแม่กด เล่มที่ ๓ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีตัวสะกดแม่กก เล่มที่ ๔ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีตัวสะกดแม่กบ เล่มที่ ๕ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีอักษรนำ เล่มที่ ๖ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีตัวการันต์ เล่มที่ ๗ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำพื้นฐานที่มีพยัญชนะควบกล้ำ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง ๐.๒๑ - ๐.๙๖ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๐๘ - ๐.๖๗ และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๖๖ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบหาค่า t สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาประสิทธิภาพ (E๑ / E๒ ) ของการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษา
ข
สงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้สูตรของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR๒๐) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า ๑) การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๘๐/๘๐ โดยมีประสิทธิภาพ ๙๑.๕๔ / ๙๖.๗๑ ๒)ความสามารถการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ ๕โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน พบว่านักเรียนมีความสามารถ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕ ๓) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด