เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5E
สารใน ชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายศักดิ์สิทธิ์ ภวภูตานนท์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนเมืองวาปีปทุม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
มหาสารคาม เขต 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน โรงเรียนเมืองวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) มีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน รวมเวลาเรียน 29 ชั่วโมง 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 12 ชุด มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่ 4.55 ถึง 4.71 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจําแนก (B) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.56 และมีค่าความเชื่อมั่น (rcc ) เท่ากับ 0.90 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .33 ถึง .78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t–test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชา
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/80.17 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.6804 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.04
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวม
นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเนื้อหา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เนื้อหาแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม น่าสนใจ อ่านเข้าใจง่าย ด้านกิจกรรมการเรียน การสอน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้น่าสนใจ และมีรูปแบบการเรียนเป็นระบบหรือขั้นตอนที่ชัดเจน ด้านการวัดและประเมินผล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนได้ฝึกคุณลักษณะของความซื่อสัตย์ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น