การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางมิหน๊ะ เหมมัน
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล) เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินรูปแบบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่นักเรียนต้องการพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพราะนักเรียนมีความรู้และพัฒนาทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษได้มากขึ้น บรรยากาศในการเรียน สนุกสนาน นักเรียนได้เรียนร่วมกลุ่มกับเพื่อน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของท้องถิ่นวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง กิจกรรมการเรียนการสอนหลากหลาย นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคน และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 76.86/75.00 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 80.72/80.56 และจากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่า เท่ากับ 81.04/80.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 29 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 83.73/82.07 และผลสัมฤทธิ์ด้านการพูดภาษาอังกฤษทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตาม แนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเมืองมะนารอ (Menara) เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด