LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อผลงาน    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน    นางปริมภาภรณ์ แก้วเทวา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
ปีที่ประเมิน    ปีการศึกษา 2559

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยประเมินจากแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น และประเมินจากแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ครูปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน
นักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 248 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 248 คน และ คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 10 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.89 – 0.98 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 11 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1.    ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.36, S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.41, σ = 0.55) อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.06, σ = 0.67) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าค่าเฉลี่ย (μ = 4.47, σ = 0.52) อยู่ในระดับมาก โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.07, S.D. = 0.61) อยู่ในระดับ มาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.15, S.D. = 0.64) อยู่ในระดับ มาก เช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ปรากฏ ดังนี้
        4.1    ระดับคุณภาพการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.25, σ = 0.57) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการดำเนินการนิเทศ มีค่าค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.48, σ = 0.51) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2    ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.16, S.D. = 0.67)ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.12, σ = 0.67) อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
        4.3    พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.13, S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.07, S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน โดยได้คะแนนรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.4    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2558 – 2559 พบว่าโดยภาพรวม ปีการศึกษา 2558 มีค่าเฉลี่ยร้อยละของผู้เรียนที่ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 51.18 และปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยร้อยละของผู้เรียนที่ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 62.47 ค่าเฉลี่ยร้อยละของผู้เรียนที่ได้ผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไปโดยภาพรวมของโรงเรียน≥ร้อยละ 50 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2558 ทั้งสองระดับชั้น และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าการพัฒนาเท่ากับ +0.33 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าการพัฒนาเท่ากับ +0.61 ส่วนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าการพัฒนาเท่ากับ +1.28 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าการพัฒนาเท่ากับ +0.84 แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2558 อย่างน้อยสองกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งสองระดับชั้น ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.5    ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.09, S.D. = 0.65) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.6    ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.20, S.D. = 0.69) อยู่ในระดับมาก ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.18, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.7    ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 4.12, S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน
        สรุปผลการประเมินโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนลำทับประชานุเคราะห์ ปีการศึกษา 2559โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาควบคู่ไปกับระบบการประกันคุณภาพภายในและการรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
    ควรจัดให้มีระบบสารสนเทศที่มีความถูกต้องครบถ้วน เพื่อสะดวกในการศึกษาข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตลอดถึงการนำข้อมูลไปใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามโครงการ
    ควรจัดให้มีโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้วยกระบวนการนิเทศภายในเป็นโครงการต่อเนื่องและต้องดำเนินการทุกปี โดยใช้วงจรควบคุมคุณภาพ ของ เดมมิ่ง (P-D-C-A) มาเป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพ
    ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
    ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
    ควรมีการศึกษาปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายใน เพื่อให้ได้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการนิเทศภายในไม่บรรลุเป้าหมาย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^