การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning)
ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning)
เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางธิดา มหายศนันท์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ปีที่วิจัย 2559
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL
(Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 34 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบ Dependent group t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 84.85/82.95 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL (Brain-Based Learning) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ และการบวก ลบระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก