รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
ชื่อผู้วิจัย : นางอุษณิษา ภาคยานุวัติ
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลพะตง
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) 2) เพื่อประเมินปัจจัยในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู จำนวน 26 คน ผู้ปกครอง จำนวน 239 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 239 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 11 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 515 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%)
ผลการศึกษา
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่ามีผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความ ต้องการความจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.39) ตัวชี้วัดความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบาย ต้นสังกัด (4.45) และตัวชี้วัดความสอดคล้องของกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ (4.50)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ได้ระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ บุคลากรในการดำเนินโครงการ (4.41) ตัวชี้วัดงบประมาณในการดำเนินโครงการ (4.39) และตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (4.29)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่ามีผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด คือ การวางแผนของโครงการ (4.69) การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ (4.58) ส่วนตัวชี้วัดด้านการประเมินผลโครงการและการปรับปรุงอยู่ในระดับมาก (4.39)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน ทักษะด้านการเขียน ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะด้านการทำงานเป็นทีม (4.39) ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน(4.49) ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.40) และตัวชี้วัดคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ (4.34)