LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล เพื่อส่งเสริม

usericon

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล เพื่อส่งเสริม
สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
ชื่อผู้วิจัย      : นางอุษณิษา ภาคยานุวัติ
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลพะตง
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วย
เหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) ในปีการศึกษา 2559 จำแนกเป็นครูกลุ่มอ้างอิง จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 19 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 181 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และ
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลวิจัยพบว่า
1)    รูปแบบการบริหารมีชื่อว่าการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู (P2BDIAR Model) ประกอบด้วยหลักการ ได้แก่ การบริหารงานวิชาการโดยเน้นการสร้างเจตคติและบุคคลกลุ่มอ้างอิงให้คล้อยตามในการปฏิบัติงานย่อมทำให้ครูมีสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน และส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูและยกระดับคุณภาพผู้เรียน กระบวนการบริหาร 7 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นตอนที่ 2 สร้างเจตคติ (Build the Attitude) ขั้นตอนที่ 3 สร้างกลุ่มอ้างอิง (Build the Reference Group) ขั้นตอนที่ 4 การให้ตัดสินใจ (Decision Making) ขั้นตอนที่ 5 การให้ศึกษาความรู้ (Information) ขั้นตอนที่ 6 ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) และขั้นตอนที่ 7 การยกย่องชมเชย (Recognition) โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยในชั้นเรียน 2) ครูกลุ่มอ้างอิงจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนและเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่นศรัทธาทั้งด้านความรู้ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนและด้านการปฏิบัติตนในลักษณะที่มีความเป็นกัลยาณมิตรสูง 3) ผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมครูกลุ่มอ้างอิงในด้านการกระจายอำนาจในการบริหาร การส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และให้ขวัญกำลังใจทั้งในระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการ
2)    ผลการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ
การวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่าสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูอยู่ในระดับสูง ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด และครูมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยใน
ชั้นเรียนในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู แตกต่างกันอย่าง
มีนัยทางสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหาร นักเรียนมีผลการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหาร















ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^