LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รายงานการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

usericon

สินธุวา โสภะสุนทร. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning). ขอนแก่น: โรงเรียนขามแก่นนคร.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ผู้เรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียนขามแก่นนคร ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติจริง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก จำนวน 18 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้รายบุคคล แบบประเมินผลการทำกิจกรรมกลุ่ม แบบประเมินผลงานและสะท้อนผล แบบบันทึกการสัมภาษณ์นักเรียน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ และแบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการแจกแจง ข้อค้นพบที่สำคัญในเชิงอธิบายความหมาย
ผลการวิจัย พบว่า
กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ คือ
1)     ขั้นการเสนอปัญหา นักเรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับเรื่องที่จะเรียนรู้ใหม่ นักเรียนเกิดความมั่นใจในการตีความปัญหา เพื่อทำความเข้าใจปัญหาด้วยตนเอง นักเรียนจำเป็นต้องอ่าน สำรวจรายละเอียด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความสำคัญ ความเกี่ยวโยงในปัญหาหลัก พิจารณาข้อมูล ตีความ อธิบายความ และสรุปความให้เกิดความเข้าใจว่าปัญหานั้นๆ เพื่อมาประมวลสร้างเป็นตัวแทนปัญหา และวางแผนในการแก้ปัญหาที่เป็นระบบ
2)     ขั้นไตร่ตรองรายบุคคล นักเรียนทำการแก้ปัญหาคนเดียวด้วยตัวนักเรียนเอง นักเรียนอาศัยประสบการณ์เดิม นักเรียนจำเป็นต้องใช้ความพยายามในการหาวิธีแก้ปัญหาตามที่ตนเองเห็นว่าอะไรเป็นปัญหา ปัญหาของนักเรียนแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปขึ้นกับประสบการณ์เดิมและการตีความปัญหา นักเรียนยังต้องเตรียมนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาให้เพื่อนนักเรียนในกลุ่มฟังด้วย การคิดไตร่ตรองด้วยตนเองนี้เป็นการคิดอย่างอิสระตามลำพังของนักเรียนตามศักยภาพและความแตกต่างของแต่ละบุคคล การตระหนักในปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียนมีความสำคัญมากในขั้นนี้
3)     ขั้นไตร่ตรองรายกลุ่ม นักเรียนแต่ละคนได้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาของตนเอง นักเรียนได้ฝึกทักษะการนำเสนอและทักษะการสื่อสารด้วย นักเรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด การร่วมกันอภิปรายช่วยให้นักเรียนเกิดความกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าพูด และกล้าออกความคิดเห็น ด้วยความมั่นใจ นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเองและตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ความสำเร็จของตนเองมีส่วนช่วยให้กลุ่มประสบความสำเร็จ เป็นการเน้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการกลุ่ม พึ่งพาอาศัยกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน มีความสามัคคี และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
4)     ขั้นนำเสนอผลงาน นักเรียนทุกกลุ่มจะได้นำเสนอผลงาน ในการนำเสนอ จะมีการจัดลำดับการนำเสนอตามลำดับแนวคิดของนักเรียน โดยเรียงจากแนวคิดพื้นฐานหรือคิดได้น้อยไปหาแนวคิดที่สลับซับซ้อนหรือคิดได้มากกว่า นักเรียนมีความพร้อมในการทำงานกลุ่มให้แล้วเสร็จก่อนนำเสนอผลงาน นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกัน ตรงเวลา และเตรียมการนำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยวิธีการที่เหมาะสม
5)     ขั้นสรุป นักเรียนได้นำเสนอสิ่งที่สรุปได้ของตนเองด้วย เป็นกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้เน้นย้ำความคิดรวบยอดของบทเรียน และเรียนรู้แนวคิดของคนอื่น นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้ในรูปแบบที่เปิดกว้างตามศักยภาพของตนเอง
6)     ขั้นขยายหรือสร้างปัญหา นักเรียนยังได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำมาขยายหรือสร้างปัญหา นักเรียนได้แก้สถานการณ์ปัญหาอีกครั้งโดยสร้างสถานการณ์ปัญหาใหม่
7)     ขั้นประเมินและสะท้อนผล นักเรียนได้ประเมินผลงานของตนเองและผลงานกลุ่ม นักเรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนเป็นอย่างดี จึงจะสามารถประเมินงานของตนเองและของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้สะท้อนผลการเรียนรู้ บันทึกปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแนวทางแก้ปัญหา
การนำรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้วิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักมาใช้ในการสอน 3 วงจร ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น โดยวงจรที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 74.40 วงจรที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.50 และวงจรที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.30 นักเรียนร้อยละ 75.00 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยนักเรียนทั้งชั้นมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.40 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผ่านการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วน สั ดส่วนและร้อยละ ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก มีความคิดเห็นต่อตัวบ่งชี้บทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ด้านผู้เรียนอยู่ในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ ส่วนด้านผู้สอนอยู่ในระดับมาก 8 ตัวบ่งชี้ และอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวบ่งชี้ โดยในด้านผู้เรียน บทบาทและพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกมากที่สุด คือ นักเรียนได้คิดอย่างหลากหลาย ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 63.89 ส่วนด้านผู้สอน บทบาทและพฤติกรรมที่ผู้สอนแสดงออกมากที่สุด คือ ครูเปิดโอกาสให้มีการแสดงแนวคิดและให้เหตุผลอย่างอิสระ คิดเป็นร้อยละ 66.67
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^