การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศ
ปีการศึกษา 2560
ผู้ศึกษา สุภาพ ไฝสัมฤทธิ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
ปีการศึกษา 2560 เป็นการวิจัยเชิงประเมิน ผู้ประเมินเลือกใช้รูปแบบการประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม มีวัตถุประสงค์ย่อยได้ดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation)
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation)
3. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation)
3.1 เกี่ยวกับการดำเนินงาน
3.2 เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของครู
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation)
4.1 พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
4.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ประเมินได้สร้างแบบประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบประเมินบริบทความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 นโยบายโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ความต้องการและความจำเป็นของโรงเรียน จำนวน 13 ข้อ ใช้สำหรับสอบถามผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอน
ฉบับที่ 2 แบบประเมินเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสมและพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน
กงไกรลาศวิทยา อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ใช้สอบถามครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 ตอนๆ ละ 13 ข้อ คือ
ตอนที่ 1 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์
ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 2 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 3 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ จำนวน13 ข้อ
ตอนที่ 4 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมฐานคุณธรรม จำนวน 13 ข้อ
ตอนที่ 5 การประเมินความพร้อมปัจจัยนำเข้าของกิจกรรมค่ายคุณธรรม จำนวน 13 ข้อ
ฉบับที่ 3 แบบประเมินเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานตามโครงการกับ ความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผล และสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) ใช้สอบถามครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มี 5 ตอนๆ ละ 10 ข้อ คือ
ตอนที่ 1 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 2 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 3 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 4 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมฐานคุณธรรม (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 5 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมค่ายคุณธรรม (การดำเนินงาน) จำนวน 10 ข้อ
ฉบับที่ 4 แบบประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของครู ใช้สอบถามนักเรียน มี 5 ตอนๆ ละ 12 ข้อ คือ
ตอนที่ 1 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
ตอนที่ 2 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
ตอนที่ 3 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
ตอนที่ 4 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมฐานคุณธรรม(การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
ตอนที่ 5 การประเมินกระบวนการดำเนินงานของกิจกรรมค่ายคุณธรรม (การจัดกิจกรรมของครู) จำนวน 12 ข้อ
ฉบับที่ 5 แบบประเมินผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการมีคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ พฤติกรรมของนักเรียนในด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียรและความเมตตากรุณา ใช้สอบถามครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียน มี 11 ตอนๆ ละ
9 ข้อ คือ
ตอนที่ 1 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 2 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
ซื่อสัตย์ของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 3 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมี
เหตุผลของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 4 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
กตัญญูกตเวทีของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 5 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความมี
วินัยของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 6 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
เสียสละของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 7 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรม ด้านความ
สามัคคีของนักเรียน
ตอนที่ 8 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
ประหยัดของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 9 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านการ
พึ่งตนเองของนักเรียน จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 10 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
ขยันหมั่นเพียรของนักเรียน จำนวน 7 ข้อ
ตอนที่ 11 การประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรม ด้านความ
เมตตาของนักเรียน จำนวน 8 ข้อ
ฉบับที่ 6 แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 ข้อ
โดยแบบสอบถามทุกฉบับมีลักษณะเป็นแบบอัตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท ( Likert )
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา
ปีการศึกษา 2560 ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมด ดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการ จำนวน 5 คน ครูผู้สอนจำนวน 50 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ม.1 – ม.6 จำนวน 271 คน และนักเรียนชั้น ม. 1 – ม.6 จำนวน 271 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำผลของการคำนวณมาแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการประเมินโครงการ
1. บริบทของโครงการ (Context Evaluation) เกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 นโยบายโรงเรียนและความต้องการจำเป็นของโรงเรียน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน พบว่าผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นว่าโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 มีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 นโยบายของโรงเรียน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ความต้องการและความจำเป็นของโรงเรียน โดยภาพรวมระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก μ = 4.43
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสม/เพียงพอของโครงการในกิจกรรม 5 กิจกรรม การวางแผนงบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน จากการประเมินพบว่า กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.67 กิจกรรมฐานคุณธรรม อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.53 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับ มาก μ = 4.42 กิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ อยู่ในระดับ มาก μ = 4.39 กิจกรรมค่ายคุณธรรม อยู่ในระดับ มาก μ = 4.37 สรุปทั้ง 5 กิจกรรม มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.48
3. ประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation) พบว่า
3.1) กิจกรรมฐานคุณธรรม (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มากที่สุด
μ = 4.72 กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.65 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.47 กิจกรรมค่ายคุณธรรม (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.41 กิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.37 สรุปทั้ง 5 กิจกรรม (ด้านกระบวนการดำเนินงาน) มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.52
3.2) กิจกรรมฐานคุณธรรม (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.67กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.53 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.43 กิจกรรมค่ายคุณธรรม (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.41 กิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ (การจัดกิจกรรมของครู) อยู่ในระดับ มาก μ = 4.17 สรุปทั้ง 5 กิจกรรม (การจัดกิจกรรมของครู) มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.44
สรุปประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ (Process Evaluation) ทั้งด้านกระบวนการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.52 และ การจัดกิจกรรมของครู มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.44 เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.48
4. ผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) พบว่า
4.1) พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความมีวินัย อยู่ในระดับ มากที่สุด
μ = 4.67 ความซื่อสัตย์ อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.61 ความรับผิดชอบอยู่ในระดับ มากที่สุด
μ = 4.54 ความมีเหตุผล อยู่ในระดับ มากที่สุด μ = 4.51 ความเสียสละ อยู่ในระดับ มาก
μ = 4.49 ความสามัคคี อยู่ในระดับ มาก μ = 4.48 ความกตัญญูกตเวที อยู่ในระดับ มาก
μ = 4.46 ความประหยัด อยู่ในระดับ มาก μ = 4.44 การพึ่งตนเอง อยู่ในระดับ มาก μ = 4.43 ความขยันหมั่นเพียรอยู่ในระดับ มาก μ = 4.39 และความเมตตาอยู่ในระดับ มาก μ = 4.37 พบว่าทุกรายการมีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.49
4.2) ความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 เรียงลำดับโครงการจากความพึงพอใจมากไปหาน้อยจะเรียงกิจกรรมได้ดังนี้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.67 กิจกรรมวินัยดีวิถีพุทธ “สวดมนต์ ฝึกสมาธิ จิตปัญญา” อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.64 กิจกรรมฐานคุณธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.58 กิจกรรมค่ายคุณธรรม อยู่ในระดับมาก μ = 4.45 และกิจกรรมคุณธรรมในวันสำคัญ อยู่ในระดับมาก μ = 4.23 และเฉลี่ยรวมทุกกิจกรรมแล้วความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการทั้ง 5 กิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.51
สรุปผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ทั้งด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียรและความเมตตาอยู่ในระดับมาก μ = 4.49 และความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.51 โดยรวมแล้ว มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.50
สรุป การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 ด้านบริบทของโครงการ (Context Evaluation) โดยภาพรวมระดับความสอดคล้องกับโครงการอยู่ในระดับมาก μ = 4.43 ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) มีความเหมาะสม เพียงพอของโครงการ อยู่ในระดับมาก μ = 4.48 ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ทั้งด้านกระบวนการดำเนินงาน และ การจัดกิจกรรมของครู มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก μ = 4.48 และด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ทั้งด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และความพึงพอใจของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการ โดยรวมแล้ว มีค่าเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด μ = 4.50
จากการสรุป พบว่า ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการ ของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ปีการศึกษา 2560 ส่งผลให้ ด้านผลผลิตของโครงกรอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมของโรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ซึ่งหากต้องการให้โครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผู้จัดทำเห็นสมควรเน้น ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตของโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น