รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาทักษะก
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวสุจิตรา สมันเหมือน
ปีที่ทำการวิจัย : พ.ศ. 2557
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กปฐมวัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ ระหว่าง 5 - 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสุเหร่าใหม่ สำนักงานเขตสวนหลวง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน ระยะเวลาในการศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลอง (Experimental Research) โดยอาศัยการวิจัยแบบ The One–Group Pretest–posttest Design ซึ่งจัดกระทำในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยทำการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหาแล้วดำเนินจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหา เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-40 นาที รวมทั้งหมด 36 ครั้ง แล้วทำการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แผนการจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหา จำนวน 12 หน่วย คือ หน่วยประสาทสัมผัส หน่วยข้าว หน่วยน้ำใสไหลเย็น หน่วยนม หน่วยกลางวันกลางคืน หน่วยต้นไม้ที่รัก หน่วยผักผลไม้ หน่วยโลกสวยด้วยสีสัน หน่วยอากาศ หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้1 หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้2 หน่วยฝนจ๋า เครื่องมือประเมินผล คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะด้านการสังเกต เท่ากับ .87 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะการลงความเห็น เท่ากับ .89 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลองและหลังการทดลองโดยนำข้อมูลไปหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาพบว่า การจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหา เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนการทดลอง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.63 และ หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.26 โดยได้คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์แบบกระบวนการแก้ปัญหา