บทสรุปผู้บริหาร
โดยใช้ภาคีเครือข่าย โรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน นายทวีพล ผลบุญ รองผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการประกอบด้วย คุณภาพการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ด้านความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านการประหยัดอดออมและด้านความสามัคคีของนักเรียน คุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 290 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 290 คน กลุ่มตัวอย่าง
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้แทนเครือข่ายองค์กรหลัก 4 องค์กร ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหม่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพอำเภอนาหม่อม สถานีตำรวจภูธรอำเภอนาหม่อม อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงเรียน ปีการศึกษา2559 องค์กรหลักละ 5 คนจำนวน 20คน
ผลการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้แทนเครือข่ายองค์กรหลัก 4 องค์กรพบว่าทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( X=4.68,S.D.=0 .62) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนเครือข่ายองค์กรหลัก 4 องค์กร มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( X= 4.76, S.D.= 0.56) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการก่อนการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (µ= 4.85, = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่าด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ=4.89, = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือด้านความพร้อมของบุคลากร(µ= 4.87, =0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านวัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่ (µ= 4.82,= 0.48) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการ (Process) การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X= 4.88, S.D. = 0.43) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย( µ=4.82, = 0.48 ) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X= 4.85, S.D. = 0.47)ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ด้านผลผลิต (Product) ในการดำเนินโครงการ ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับ ระดับคุณภาพการเสริมสร้างคุณธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X= 4.88, S.D.= 0.40) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย( µ = 4.88, = 0.43 )ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย(X= 4.88,S.D.= 0.41) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X= 4.74, S.D.= 0.55) ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับ คุณภาพการเสริมสร้างคุณธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และผู้แทนเครือข่ายองค์กรหลัก พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ผู้ประเมินพบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.87, = 0.41) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย( X= 4.88,S.D. = 0.38) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้แทนเครือข่ายองค์กรหลักมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (X= 4.82,S.D.= 0.47) ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินมีผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต(Product) ของโครงการเกี่ยวกับ ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ โรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 โดยรวมมีค่าคะแนนที่ได้เฉลี่ย 4.69 คิดเป็นร้อยละ 93.84 อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวบ่งชี้ พบว่า ตัวบ่งชี้ที่ 2 เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ มีค่าคะแนนที่ได้ 0.96 คิดเป็นร้อยละ 96.21 อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 1 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร มีค่าคะแนนที่ได้ 1.89 คิดเป็นร้อยละ 94.63 อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม ตัวบ่งชี้ที่ 4 ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีค่าคะแนนที่ ได้ 0.93 คิดเป็นร้อยละ 93.05 อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม และตัวบ่งชี้ที่ 3 ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง มีค่าคะแนนที่ได้ 0.91 คิดเป็นร้อยละ 91.48 อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยมเช่นกัน โดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 พบว่าโดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด( µ = 4.93, = 0.29) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด( X= 4.89, S.D.= 0.38 ) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.79, S.D.=0.51) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ปีการศึกษา 2559 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100ได้คะแนนเฉลี่ย 100
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.2 โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิตเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
1.3 ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้แทนเครือข่าย 4 องค์กรหลักมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
1.4 ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ และเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิตที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ตามบริบทสภาพของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป
2.3 ควรมีการศึกษาการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้ ภาคีเครือข่ายโรงเรียนธรรมโฆสิต ในเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป