บทความรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบ
วิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี
นางสาวทัศนีย์ แก้วงาม
Tasnee Keawngam1
บทคัดย่อ
การวิจัย รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียน
บ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 และเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก:ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากซึ่งเมื่อนำผลการวิจัยการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมมาทำการสังเคราะห์ร่วมกับผลการศึกษา Best practice สภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการปฏิบัติที่ดี 3 แห่ง พบองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย (1) งานวางแผนวิชาการ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และ (4) งานการวัดผลและประเมินผล
2. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ทั้งหมด คือ (1) งานวางแผนวิชาการ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และ (4) งานการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมที่จะเป็นตัวแปรของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ในระดับมากที่สุด
3. ร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวม มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่งผลให้ได้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็กที่ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลไกการดำเนินการ 4) วิธีดำเนินการ 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ
4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สามารถมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการให้เกิดประสิทธิผล
บทนำ
การศึกษานับว่าเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคมในยุคปัจจุบันเนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของสังคมในการจัดการศึกษา (All for Education) ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดหลักในการจัดการศึกษาที่สำคัญไว้ในมาตรา 9 (6) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน ต้องเข้ามามีหน้าที่และรับผิดชอบต่อกระบวนการจัดการศึกษา สถานศึกษาจึงต้องจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นใน ทุกเวลาทุกสถานที่โดยประสานความร่วมมือกับทุกฝ่าย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2546 : 5-14)
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเรื่องของการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ดำเนินงานโดยกระทรวงศึกษาธิการ จะพบว่า ในอดีตก่อนการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 หน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลาง ได้มีระเบียบปฏิบัติให้แต่ละสถานศึกษาในสังกัดดำเนินการบริหารจัดการศึกษาในรูปเครือข่ายกับสถานศึกษาอื่น ไม่ว่าจะในรูปของกลุ่มโรงเรียนก็ดีหรือในรูปของวิทยาเขตก็ดี พอที่จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อการบริหารและการจัดการศึกษาในอนาคต ซึ่งต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 โดยหนังสือ ที่ ศธ. 04003/231 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2547 ของสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน เรื่อง บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดไว้ในมาตรา 38 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายของสถานศึกษาเพื่อร่วมกันทำหน้าที่กำกับ ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมต่างๆของสถานศึกษา ตลอดจนช่วยกันสะท้อนปัญหา ความต้องการ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แผนงาน ทิศทางการจัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของชุมชนและท้องถิ่นอย่างแท้จริง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน ดังนั้น สถานศึกษาแต่ละแห่งจะต้องจัดการศึกษาให้ “สังคมมีส่วนร่วม” ซึ่งประเด็นของการมีส่วนร่วมได้ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยต่อมาในปีพุทธศักราช 2552 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นสถาบันแห่งชาติเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งรัดกระบวนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้คนไทยได้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ
นอกจากนั้น การดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องยึดเงื่อนไขและหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 1) ยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ กำหนดให้บุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการศึกษาด้านวิชาการ งบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและภารกิจของผู้รับผิดชอบ และต้องสามารถตรวจสอบความสำเร็จได้ เพื่อเป็นหลักการประกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้น แต่ในทางปฏิบัติการจัดการศึกษาภายใต้แนวคิดหลักของการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการบริหารงานวิชาการ ซึ่งได้แก่ งานวางแผนวิชาการ งานการจัดการเรียนรู้ งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และงานการวัดและประเมินผล(มัย สุขเอี่ยม. 2551 : 70) ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบของการให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้ได้อย่างมีประสิทธิผล ยังขาดความเชื่อมโยง และบูรณาการระหว่างความรู้ความเข้าใจในงานวิชาการของสถานศึกษากับประสิทธิผลของงานวิชาการ และคุณภาพของคนไทยยุคใหม่ ประกอบกับด้วยข้อจำกัด และอุปสรรคในเรื่องการบริหารแบบกระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษาที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่อันเกิดจากสภาพที่แตกต่างกันระหว่างชุมชน ทำให้คุณภาพ และศักยภาพของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่มีประสิทธิผลที่แตกต่างกัน และบางครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับฝ่ายบริหารของสถานศึกษา เพราะผู้บริหารรู้สึกสูญเสียอำนาจ ครูรู้สึกว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานก้าวก่ายในงานและรู้สึกเหมือนโดนจับผิด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2553 : ออนไลน์)
นอกจากนั้น สาเหตุที่การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาในประเทศ ยังประสบปัญหา น่าจะเนื่องมาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ซึ่งหมายรวมถึงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอง มีจำนวนไม่น้อยที่ยังมองว่าบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมแต่เพียงในนามเท่านั้น โดยเฉพาะกับประเด็นที่เป็นเรื่องทางวิชาการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานบางส่วนอาจไม่รู้เรื่อง และมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับ ส่งเสริม สนับสนุน ตามที่กฎหมายทางการศึกษาระบุไว้เท่านั้น ซึ่งประเด็นดังกล่าว หากพิจารณาในเชิงลึกจะพบว่า การที่ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วมนั้นสอดรับกับการกระจายอำนาจทางการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลให้กับสถานศึกษา โดยเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปยังแต่ละสถานศึกษา โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา (School Council หรือ School Board) หรือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีอำนาจในการบริหารจัดการศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ โดยให้เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน (สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. 2551 : ออนไลน์) ตามหลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement) หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) หลักการบริหารตนเอง (Self-management) และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) (อุทัย บุญประเสริฐ. 2546 : 154-156)
จากภูมิหลังดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองแปก ซึ่งเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 มีความเห็นสอดคล้องกับข้อมูลสภาพปัญหาดังกล่าว จึงต้องการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยมีความคาดหวังว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถเอื้อประโยชน์สำหรับนักการศึกษาและผู้สนใจทั่วไปให้นำรูปแบบการมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กได้ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
3. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ขั้นตอนการดำเนินการ
การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก มีการดำเนินการ 2 ขั้นตอนย่อย และมีรายละเอียดดังนี้ 1) สำรวจสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก 2) ศึกษา Best practice โดยศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการปฏิบัติที่ดี 3 แห่ง ที่มีบริบทแตกต่างกัน ด้วยการศึกษาข้อมูลภาคสนาม เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ ที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก
ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอนย่อย และมีรายละเอียดดังนี้ 1) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก (1) งานวางแผนวิชาการ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และ (4) งานการวัดและประเมินผล ที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก มีการดำเนินการ 3 ขั้นตอนย่อย และมีรายละเอียดดังนี้ 1) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน 2) ประเมินความเหมาะสมของร่างคู่มือดำเนินการตามร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน 3) ปรับปรุงร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 การดำเนินการ 3 ขั้นตอนย่อย และมีรายละเอียดดังนี้ 1) ทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
สรุปผลการวิจัย
1. สรุปผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า
1.1 สภาพปัจจุบันปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของปัญหาจากมากไปหาน้อยได้ คือ (1) งานวางแผนวิชาการ
(2) งานการจัดการเรียนรู้(3) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และ (4) งานการวัดและประเมินผล
1.2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของความต้องการจากมากไปหาน้อยได้ คือ (1) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานวางแผนวิชาการ และ (4) งานการวัดและประเมินผล
1.3 นำผลการวิจัยการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก มาทำการสังเคราะห์ร่วมกับผลการศึกษา Best practice สภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการปฏิบัติที่ดี 3 แห่ง พบองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ได้แก่
1.3.1 งานวางแผนวิชาการ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การจัดระบบงานวิชาการ องค์ประกอบหลักที่ 2 การจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา องค์ประกอบหลักที่ 3 การบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน องค์ประกอบหลักที่ 4 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
1.3.2 งานการจัดการเรียนรู้ มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักที่ 2 การส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้
1.3.3 งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การจัดบรรยากาศและพัฒนาสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบหลักที่ 2 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ องค์ประกอบหลักที่ 3 การสร้างเครือข่ายพัฒนาหลักสูตร องค์ประกอบหลักที่ 4 การนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักที่ 5 การส่งเสริมพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และองค์ประกอบหลักที่ 6 การประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการ
1.3.4 งานการวัดผลและประเมินผล มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การจัดทำทะเบียนและวัดผลประเมินผล และ องค์ประกอบหลักที่ 2 การประเมินผลการจัดทำทะเบียนและวัดผลประเมินผล
2. สรุปผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ทั้งหมด คือ (1) งานวางแผนวิชาการ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และ (4) งานการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมที่จะเป็นตัวแปรของการ มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ในระดับมากที่สุด แต่ความเป็นไปได้ของการปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก เรียงลำดับความเป็นไปได้ จากมากไปหาน้อย คือ (1) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานวางแผนวิชาการ และ (4) งานการวัดและประเมินผล ตามลำดับ ดังนั้น ถ้าจะให้การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผล จึงควรกำหนดร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กลไกการดำเนินการ 4) วิธีดำเนินการ 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ เกี่ยวกับ (1) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานวางแผนวิชาการ และ (4) งานการวัดและประเมินผล ตามลำดับ
3. สรุปผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก : ศึกษากรณีโรงเรียนบ้านหนองแปก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 พบว่าการดำเนินการประสบความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการให้เกิดประสิทธิผล
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิจัยมีประเด็นที่จะนำมาอภิปราย ดังนี้
1. จากผลการวิจัยที่พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของปัญหาจากมากไปหาน้อยได้ คือ (1) งานวางแผนวิชาการ(2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ และ (4) งานการวัดและประเมินผล ซึ่งแสดง ให้เห็นว่า อุปสรรคที่สำคัญในการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมวางแผนวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดระบบงานวิชาการ การจัดระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ยังเป็นเรื่องที่สถานศึกษาจะวางแผนกันเองภายใน เหตุเพราะประเด็นต่างๆ ของงานวางแผนวิชาการนั้น ล้วนเป็นประเด็นที่อาศัยความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการศึกษาค่อนข้างมาก ส่งผลให้เมื่อสถานศึกษาวางแผนงานบริหารวิชาการเรียบร้อยจะนำเสนอเพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับทราบเท่านั้น ประเด็นนี้อาจแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมแต่เพียงในนาม ไม่อาจให้กิจการของสถานศึกษาเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุดได้ ถือว่าขัดแย้งกับความพยายามสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมในมิติตามแนวนอน ซึ่งหมายถึงพันธมิตร/เพื่อน/เครือข่ายเข้าหากัน (ประเวศ วะสี. 2536 : 24) เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบด้วยความเป็นกัลยาณมิตร และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ยังขัดแย้งกับผลการศึกษาวิจัยของ ช่อรัตน์ดา เกสทอง (2550 : บทคัดย่อ) ที่ได้ทำวิจัย เรื่อง การนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี ซึ่งผลการวิจัย พบว่า ปัญหาที่พบในการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล ด้านที่มีปัญหาต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 1) การประชุมวางแผน 2) การประชุมวางแผน 3) การมีส่วนร่วมในการบริหาร 4) จัดอบรมให้ความรู้ และ 5) กำกับ ติดตาม ประเมินผล โดยที่ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้ เนื่องจากสถานศึกษาดำเนินการบริหารงานวิชาการด้วยตนเอง แต่ถ้าต้องให้เกิดการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับที่มาก อย่างเป็นรูปธรรม อาจเกิดปัญหาตามมาอย่างผลการวิจัยที่ผู้วิจัยค้นพบก็เป็นได้
2. จากผลการวิจัยที่พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยของความต้องการจากมากไปหาน้อย คือ (1) งานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ (2) งานการจัดการเรียนรู้ (3) งานวางแผนวิชาการ และ (4) งานการวัดและประเมินผล ผลการวิจัยอาจบ่งบอกบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าสถานศึกษาต้องปรับตัวในการให้น้ำหนัก และความสำคัญของ บางประเด็นที่จะให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามามีส่วนร่วมในงานวิชาการ เพราะความต้องการในการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านหลักสูตรและการพัฒนาส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการจัดบรรยากาศและพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายพัฒนาหลักสูตร การนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และการประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการ ถือได้ว่าเป็นภาระงานที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของสถานศึกษาได้ร่วมกันพัฒนาการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาในสิ่งที่ตนเองสามารถทำได้ และสามารถเห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะทำหลักสูตรที่เป็นลักษณะของการบูรณาการอยู่แล้ว เช่น บูรณาการสาระท้องถิ่น บูรณาการเครือข่ายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของพิธาน พื้นทอง (2547 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ผลการวิจัย พบว่า ด้านวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กมีการจัดทำหลักสูตรบูรณาการมากขึ้น มีการจัดการด้านการสอนที่เป็นแบบบูรณาการมากกว่า กล่าวคือ มีการสอนแบบรวมชั้นในบางชั้นเรียน ลักษณะของการจัดการเรียนรู้จะเป็นลักษณะที่ครู และผู้เรียนนั่งล้อมวง หรือเป็นลักษณะกลุ่มเล็กหรือเป็นรายบุคคลมากขึ้นกว่าโรงเรียนที่มีขนาด ใหญ่กว่าที่มีการสอนเป็นแบบชั้นเรียน และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของ สุวิมล โพธิ์กลิ่น (2549 : บทคัดย่อ) ที่พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษาวิจัยของผู้วิจัย คือ พบองค์ประกอบหลักของขอบข่ายและภารกิจงานด้านวิชาการที่ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น การจัดหาและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การนิเทศการศึกษา และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการนำรูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการนำไปใช้ในสถานศึกษาให้ประสบผลสำเร็จของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550: 18-20) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสมรรถภาพของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ว่า พัฒนาสมรรถภาพของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความสามารถ ควรมีความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวกับภารกิจของสถานศึกษา เช่น การจัดหลักสูตรสถานศึกษา การจัดแผนกลยุทธ์ การจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
3. จากผลการวิจัยที่พบว่าองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก ที่จะทำให้การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการ สำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผล ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ เกี่ยวกับ (1)