เผยแพร่การรายงานประจำปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านท่ามะปราง จังหว
โรงเรียนบ้านท่ามะปราง ตั้งอยู่ เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการจัดการศึกษา 2 ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย (3-5 ปี) มีครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 1 คน เด็กจำนวน 10 คน
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา มีบุคลากรครู จำนวน 5 คน ผู้เรียนจำนวน 42 คน รวมทั้งสถานศึกษา มีบุคลากรครู จำนวน 6 คน ผู้เรียน 52 คน
ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา แสดงในตารางสรุปผลได้ดังนี้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาปฐมวัย (3-5 ปี)
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับคุณภาพ
ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก ดีเยี่ยม
มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานที่ 1 เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย
1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
1.2 มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย
1.3 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน
1.4 หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค อุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด
มาตรฐานที่ 2 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
2.1 ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
2.2 มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก
2.3 ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย
2.4 ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ
มาตรฐานที่ 3 เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม
3.1 มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์
3.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน
3.3 เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.4 ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ
มาตรฐานที่ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา
4.1 สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับคุณภาพ
ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก ดีเยี่ยม
4.2 มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้
4.3 มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย
4.4 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4.5 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 5 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
5.1 ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์
5.2 ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
5.3 ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก
5.4 ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
5.5 ครูใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง
5.6 ครูวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบและใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์
5.7 ครูจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
5.8 ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครอง
5.9 ครูมีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย
5.10 ครูจัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก
มาตรฐานที่ 6 ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
6.1 ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
6.2 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย
6.3 ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลการประเมินผลหรือการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ
6.4 ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับคุณภาพ
ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก ดีเยี่ยม
6.5 ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
6.6 ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเต็มศักยภาพและเต็มเวลา
6.7 เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย
มาตรฐานที่ 7 แนวการจัดการศึกษา
7.1 มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.2 มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย
7.3 จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
7.4 สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น
7.5 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน
มาตรฐานที่ 8 สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
8.1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
8.2 จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
8.3 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการ
8.4 ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
8.5 นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
8.6 จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน
มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 9 สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
9.1 เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและบุคลากรในสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับคุณภาพ
ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก ดีเยี่ยม
9.2 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 10 การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา วิสัยทัศน์และจุดเน้นของการศึกษาปฐมวัย
10.1 จัดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาเด็กให้บรรลุตามเป้าหมาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดเน้นการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
10.2 ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย
10.3 จัดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาเด็กให้มีมารยาทไทยไหว้สวย และยิ้มใส *
10.4 ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมพัฒนาเด็กให้มีมารยาทไทยไหว้สวย และยิ้มใส บรรลุตามเป้าหมาย *
มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม
มาตรฐานที่ 11 การพัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายและแนวทางปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น
11.1 จัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนตามนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
11.2 ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย
สรุปผลการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษา
สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา คะแนนที่ได้ 90.37 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
ระดับการศึกษาปฐมวัย
• ด้านคุณภาพผู้เรียน
จุดเด่น
นักเรียนรู้จักเก็บของใช้ของเล่นเข้าที่ได้เรียบร้อย แสดงความเคารพได้อย่างถูกต้อง กล้าแสดงออก รู้จักรักษาสิ่งของเครื่องใช้ส่วนรวม สามารถเดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถแต่งตัวเองได้ นักเรียนส่วนใหญ่ มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ร่วมกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีความสุข
จุดที่ควรพัฒนา
ควรพัฒนานักเรียนด้านการเข้าแถวตามลำดับก่อนหลังด้วยตนเอง และเข้าแถวหน้าเสาธง ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ - เล็ก การบอกประโยชน์ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 การรับฟังคำสั่งแล้วนำมาถ่ายทอดได้ สุขภาพจิตที่ดี มีความร่าเริงแจ่มใสและอารมณ์ดี รู้จักควบคุมตัวเองขณะเล่น และทำงาน ได้พักผ่อนตามเวลาทุกคน การรู้จักสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะตามจินตนาการ การแสดงท่าทางเคลื่อนไหวประกอบเพลง จังหวะและดนตรี การจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ ครูควรเอาใจใส่พฤติกรรมนักเรียนนอกห้องให้มากขึ้น
• ด้านการจัดการศึกษา
จุดเด่น
นักเรียนสามารถอ่านคำประกอบภาพและสัญลักษณ์ได้ บอกจำนวนนักเรียนในห้องได้ถูกต้อง รู้ค่าจำนวน 1-10 สามารถแสดงท่าทางอย่างอิสระประกอบเพลงได้ นักเรียนส่วนใหญ่ มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ร่วมกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีความสุข
จุดที่ควรพัฒนา
นักเรียนควรมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติ บรรยายภาพตามความรู้สึกตนเองได้ การรู้จักแสวงหาคำตอบข้อสงสัยต่างๆด้วยวิธีการที่หลากหลาย รักหนังสือ และมีความสนใจในการอ่านเขียนมากขึ้น ความขยันอดทน ละเอียดรอบคอบ และมีความสุขในการทำงาน มีความชื่นชม และภูมิใจในงานของตนและของกลุ่ม
• ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
จุดเด่น
นักเรียนมีมนุษยสัมพันธ์ดี กล้าพูด กล้าคุย รู้จักถาม แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน รู้จักปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ร่วมงานที่ดีด้วยความเต็มใจ
จุดที่ควรพัฒนา
นักเรียนควรจะมีสุขภาพจิตที่ดี มีความร่าเริงแจ่มใสและอารมณ์ดี รู้จักควบคุมตัวเองขณะเล่น และทำงาน ได้พักผ่อนตามเวลาทุกคน การรู้จักสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะตามจินตนาการ การแสดงท่าทางเคลื่อนไหวประกอบเพลง จังหวะและดนตรี การจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ ครูควรเอาใจใส่พฤติกรรมนักเรียนนอกห้องให้มากขึ้น
• ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน
จุดเด่น
ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีผลการพัฒนาบรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียน มีผลการพัฒนาเป็นไปตามจุดเน้น จุดเด่น ที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน โรงเรียนมีการประกันคุณภาพภายในและมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการพัฒนาโรงเรียน
จุดที่ควรพัฒนา
ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาไทย
• ด้านมาตรการส่งเสริม
จุดเด่น
นักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานทุกคน มีสุขนิสัยที่ดี
ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และแปรงฟันหลังอาหารทุกวันทุกคน นักเรียนสนใจมีความสุขกับเพลง ดนตรี และการเคลื่อนไหว
จุดที่ควรพัฒนา
นักเรียนควรจะมีการแสดงท่าทางเคลื่อนไหวประกอบเพลง จังหวะและดนตรี
การจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ ครูควรเอาใจใส่พฤติกรรมนักเรียนนอกห้องให้มากขึ้น
การศึกษาขั้นพื้นฐาน : ประถมศึกษา
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ระดับคุณภาพ
ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีเยี่ยม
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มาตรฐานที่ 4 ระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
ผลการประเมินโดยภาพรวมของสถานศึกษา
สรุปผลภาพรวมของสถานศึกษา คะแนนที่ได้ 92.31 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
• ด้านคุณภาพผู้เรียน
จุดเด่น
นักเรียนส่วนใหญ่พูดจาสุภาพอ่อนน้อมเหมาะสมกับบุคคลและโอกาส เข้าแถวรับบริการต่างๆอย่างเป็นระเบียบ มีความซื่อสัตย์ ช่วยทำกิจกรรมต่างๆด้วยความสมัครใจ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สามารถจำแนกประเภทข้อมูลโดยใช้กฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ได้ รู้จักตัดสินใจแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อมูล มีภาวะผู้นำ ผู้ตาม โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและอาหารเสริม (นม ) แก่นักเรียนอย่างเพียงพอ จัดกิจกรรมกายบริหารประกอบเพลงหน้าเสาธง นักเรียนส่วนใหญ่มีน้ำหนัก ส่วนสูง และและสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน ร่าเริงแจ่มใส และแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติด ไม่เสพสิ่งเสพติดและสิ่งมอมเมา
มีความสนใจและภูมิใจในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา
จุดที่ควรพัฒนา
ควรพัฒนาผู้เรียนด้านการทำความเคารพให้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ การรู้จักนำวัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงใช้ใหม่ การประหยัด ความสามารถสรุปข้อมูลอย่างมีเหตุผล รู้จักพิจารณาและประเมินข้อมูลให้ครอบคลุมทุกด้าน มีความคิดริเริ่มและจินตนาการ การประดิษฐ์ชิ้นงานเป็นของตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ) ความสามารถในการวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ การแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์และสรุปความ การทำงานให้ถูกต้องเรียบร้อยและมีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ การใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความกระตือรือร้นในการรักการอ่าน
• ด้านการเรียนการสอน
จุดเด่น
ครูมีความสมารถในการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดผลประเมินผลจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนเรียนรู้และทำงานร่วมกันโดยกระบวนการกลุ่ม จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่ได้สอนตามความถนัด มีการพัฒนาตนเองโดยการอบรมเพิ่มเติมอยู่เสมอ มีประสบการณ์ด้านการสอนมานาน และมีครูเพียงพอตามเกณฑ์ที่
ก.ค.ศ. กำหนด
จุดที่ควรพัฒนา
ครูควรได้รับการพัฒนาด้านการวิเคราะห์หลักสูตร จัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีแผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระที่สอน การจัดการเรียนการสอนและใช้สื่อที่หลากหลายที่ส่งเสริมการเรียนรู้นักเรียน การนำผลการประเมินมาพัฒนาส่งเสริมให้ครูได้ไปทัศนศึกษาดูงานเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ได้นำความรู้มาพัฒนางาน
• ด้านบริหารจัดการศึกษา
จุดเด่น
ผู้บริหารมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีวุฒิภาวะ ร่าเริงแจ่มใส บริหารโดยการกระจายอำนาจความรับผิดชอบ ตามบทบาทหน้าที่และโครงสร้างการบริหารงาน จัดประชุมทุกฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาและพัฒนาโรงเรียน มีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ โดยแจ้งในที่ประชุมประจำเดือน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินใจ องค์กรเอกชน/หน่วยงานภายนอกให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านงบประมาณและทุนการศึกษา
จุดที่ควรพัฒนา
ผู้บริหารควรปรับปรุงระบบการนิเทศภายใน การส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณลักษณะผู้นำและผู้ตามที่ดี การเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน การประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชนหรือหน่วยงานอื่นๆ การเปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษามากขึ้น มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ให้มากขึ้น มีการประเมิน การเก็บรวบรวมข้อมูลปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การบันทึกการปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ง่ายต่อการค้นหาและปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ การนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการปฏิบัติงาน
• ด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
จุดเด่น
โรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน นักเรียนได้รับการพัฒนาในการศึกษาที่กว้างขวางขึ้น ได้รับประสบการณ์ตรง ชุมชนเข้ามา
มีส่วนร่วมในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเป็นวิทยากรบุคคลภายนอก ให้ความรู้ด้านอาชีพ เช่น การทำขนม การทำงานจักสาน การเรียนดนตรีไทย นอกจากนี้โรงเรียนได้มีส่วนร่วมกับชุมชนโดยการให้บริการด้านสถานที่ เช่น สนามกีฬาเพื่อใช้ในการออกกำลังกายแก่ชุมชน
จุดที่ควรพัฒนา
โรงเรียนควรมีการเชื่อมโยงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้ตามความต้องการมากขึ้น
• ด้านอัตลักษณ์ของโรงเรียน
จุดเด่น
ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีผลการพัฒนาบรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียน มีผลการพัฒนาเป็นไปตามจุดเน้น จุดเด่น ที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน โรงเรียนมีการประกันคุณภาพภายในและมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการพัฒนาโรงเรียน
จุดที่ควรพัฒนา
ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาไทย และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
• ด้านมาตรการส่งเสริม
จุดเด่น
โรงเรียนโรงเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยมุ่งหมายให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอยู่อย่างพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาของนักเรียน และชุมชน ที่ปัจจุบันมีการดำเนินชีวิตแบบวัตถุนิยมมากขึ้นจนเป็นปัญหา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม และเป็นในทุกระดับ คือ ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศ และระดับโลก ดังนั้นวิธีการป้องกัน และแก้ไขที่ดีที่สุด และยั่งยืน คือการปลูกฝังให้นักเรียน และชุมชนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ซึ่งก็คือ การอยู่อย่างพอเพียง นั่นเอง ซึ่งทางโรงเรียนได้ดำเนินการผ่านโครงการ และผ่านกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ได้แก่ โครงการฝึกทักษะอาชีพเกษตรกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการออม กิจกรรมชุมนุมยุวเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการเรียนการสอนโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การเลี้ยงปลาดุก และยังขยายผลไปสู่ชุมชน โดยการจัดทำโครงการร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอห้วยยอด และสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง ส่งผลให้ โรงเรียนเป็นโรงเรียนแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประจำปี 2556
การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านท่ามะปราง ประจำปีการศึกษา 2559 ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจกาคณะครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการร่วมกันจัดทำข้อมูลการจัดการศึกษาของโรงเรียน นำเสนอจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาปรับปรุง รวมทั้งทิศทางในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้มีศักยภาพ มีความพร้อมในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้น และสำหรับเป็นเอกสารรายงานประจำปีการศึกษา (SAR) ของโรงเรียน ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินและการจัดทำรายงาน มา ณ โอกาสนี้