การบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย นางเสริมสิริ เยาวพักตร์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) สังกัดกองการศึกษาเทศบาล
เมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารวิชาการการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ 4) ประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 62 คน ผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด (กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,096 คน ผู้ปกครองของผู้เรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,096 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามxxxส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินทักษะความพอเพียง แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการอบรมด้วย t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารวิชาการในการจัดการเรียนการสอนของครูยังไม่มีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขาดการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น การใฝ่เรียน ใฝ่รู้ การคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ไม่สามารถเผชิญและแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองได้
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการบริหารงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (Curriculum : C) การจัดการเรียนรู้เพื่อความสุขในองค์กร (Happiness : H) การไม่ท้อถอยในการบริหาร (Unflinching : U) การระดมทรัพยากรการบริหาร (Mobilization : M) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Participation : P) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม (Environment : E) การประเมินผล (Evaluation : E) และการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินทักษะวิถีความพอเพียง ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะตามวิถีความพอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4. ความพึงพอใจของครู ผู้เรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด และผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่าน ได้รับรองการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่มาตรฐานการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด(กวีธรรมสาร) จังหวัดอุตรดิตถ์