การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย
นายทวีศักดิ์ น้อยดี
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสุเหร่าทับช้างและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำแนกตามสถานภาพของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและครู ตลอดจนศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนโรงเรียนสุเหร่าทับช้าง สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองประจำห้องเรียน จำนวน 80 คนและครูโรงเรียนสุเหร่าทับช้าง สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 101 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสุเหร่าทับช้าง สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสุเหร่าทับช้าง สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ตามขอบข่ายการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 3 ด้าน ตามแนวคิดและหลักการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548:33) ได้แก่หลักการกระจายอำนาจ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารจัดการศึกษาที่ดี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจำแนกตามสถานภาพของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและครู โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พบว่า
สถานภาพ เพศ พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและครู โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในภาพรวม แตกต่างในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สถานภาพ ระดับการศึกษา พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและครู โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในภาพรวมแตกต่างในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ส่วนสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่พบส่วนใหญ่
1.ปัญหาด้านการบริหารงานตามหลักการกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจไม่แท้จริง ไม่คลอบคลุมทุกด้าน บุคลากรในโรงเรียนมีน้อยต้องรับภาระงานหลายอย่าง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่เท่าที่ควร
2.ข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักการกระจายอำนาจ
ควรมีการจัดประชุมทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ควรสรรหาบุคลากรที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และควรอบรมให้ความรู้หรือศึกษาดูงานด้านการกระจายอำนาจ
3.ปัญหาด้านการบริหารงานตามหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ชุมชนไม่กล้าแสดงออกในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเท่าที่ควร การประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองจำนวนครั้งน้อยเกินไปและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ไม่มีส่วนร่วมในการให้ความเห็นเพื่อพัฒนาการศึกษา
4.ข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ควรมีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ควรส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนในรูปแบบต่าง และควรรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาร่วมกันแก้ปัญหา
5.ปัญหาด้านการบริหารงานตามหลักการบริหารจัดการศึกษาที่ดี
ไม่สามารถปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้ได้ครบ การจัดอบรมสัมมนาของบุคลากรมีค่อนข้างมาก ทำให้คุณภาพการจัดการเรียน การสอนด้อยลงและไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบคุณภาพของโรงเรียนจำนวน
6.ข้อเสนอแนะในการบริหารงานตามหลักการบริหารจัดการศึกษาที่ดี
ควรมีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ควรส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนในรูปแบบต่างๆ และควรรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ มาร่วมกันแก้ปัญหา