ารพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม
หัวข้อการวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นางสริญญา แพงมา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2556
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนกำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านปราสาทเยอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีค่าเป็น 87.45/88.97 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่
ตั้งไว้
2. ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยพันธุกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.75)