รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของ
แฮร์โรว์ (Harrow’s Instructional Model for Psychomotor
Domain) รายวิชาเพิ่มเติม ง 30241 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน : ส.ต.ต.กัมปนาท เกษแก้ว
บทคัดย่อ
การดำเนินการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ (Harrow’s Instructional Model for Psychomotor Domain) รายวิชาเพิ่มเติม ง 30241 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ (Harrow’s Instructional Model for Psychomotor Domain) รายวิชาเพิ่มเติม ง 30241 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ (Harrow’s Instructional Model for Psychomotor Domain) รายวิชาเพิ่มเติม ง 30241 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ประกอบ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 302 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 39 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
จากการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ (Harrow’s Instructional Model for Psychomotor Domain) รายวิชาเพิ่มเติม ง 30241 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.08/85.42 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.80)