การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการออกแบบงาน 3 มิติ
ชื่อผู้ศึกษา นายสุรพงษ์ ติยะธรรม
สาขาวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน ใช้เวลา 25 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติที่พื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพ E1/E2 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้สูตร t-test (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.27/86.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบงาน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Google SketchUp 8 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเขียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(X ̅ = 4.61 , S.D. = 0.51)