รายงานการพัฒนาและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์
ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว
ผู้รายงาน นางสาวเพ็ญนภา กิจตรอง
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ชุดการแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยวในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุดการแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของ เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว ที่พัฒนาขึ้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแสงวณิชอุปถัมภ์ สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน 10 ชั่วโมง เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุดการแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว ซึ่งมีลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.50/86.67 แสดงว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอน ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีค่าเท่ากับ .7845 คิดเป็นร้อยละ 78.45 ซึ่งแสดงว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่ผู้รายงานสร้างขึ้นทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 78.45
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียน ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชุด การแสดงพื้นเมือง ฟ้อนเงี้ยว มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ภาพและเนื้อหามีความสัมพันธ์กัน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในระดับมากที่สุด และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดอยู่ในระดับมาก