การรายงานผลการใช้กิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์
ผู้ศึกษา : นายศิริชัย ตรีตรานนท์ ครูชำนาญการ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การรายงานผลการใช้กิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ทั้งรายด้านและโดยรวมของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ทั้งรายด้านและโดยรวมของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนหญิง ชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนา นุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบวัดพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ และกิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ การเก็บข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป SPSS for Windows ประมวลผลข้อมูล สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมพัฒนาตนป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สรุปได้ว่า
1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมพัฒนาตนป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (E.I.) มีค่าเท่ากับ 0.63 หรือคิดเป็นร้อยละ 63
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยกิจกรรมพัฒนาตนป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ทั้งรายด้าน และโดยรวมของนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วม และกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์สรุปได้ว่า
1. ก่อนการทดลองนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในกลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ด้านการไม่อยู่ตามลำพัง กับเพื่อนต่างเพศในที่ลับตาสองต่อสอง ด้านการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเสพยาเสพติด และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21 , = 4.31 และ = 3.75 ตามลำดับ) มีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ด้านการไม่เปิดรับสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และด้านการหลีกเลี่ยงคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.66 และ = 3.07 ตามลำดับ) เช่นเดียวกับในกลุ่มควบคุม มีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ด้านการไม่อยู่ตามลำพังกับเพื่อนต่างเพศในที่ลับตาสองต่อสอง ด้านการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเสพยาเสพติด และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.18 , = 4.35 และ = 3.78 ตามลำดับ) มีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ด้านการไม่เปิดรับสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศและด้านการหลีกเลี่ยงคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.60 และ = 3.20 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งรายด้านและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมโดยการทดสอบ t (Independent t-test) พบว่า พฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งรายด้าน และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน
2. หลังการทดลองนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ด้านการไม่อยู่ตามลำพังกับเพื่อนต่างเพศในที่ลับตาสองต่อสอง ด้านการไม่เปิดรับสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ด้านการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเสพยาเสพติด และด้านการหลีกเลี่ยงคบเพื่อน ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.63 , = 4.04 , = 4.71 , = 3.96 และ = 4.31 ตามลำดับ) ในกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ด้านการไม่อยู่ตามลำพังกับเพื่อนต่างเพศในที่ลับตาสองต่อสอง ด้านการไม่เปิดรับสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ด้านการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเสพยาเสพติด และพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15 , = 3.73 , = 4.37 และ = 3.77 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ด้านการหลีกเลี่ยงคบเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง( =3.09) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งรายด้านและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวม โดยการทดสอบ t (Independent t-test) พบว่ากลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งรายด้านและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์โดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05