รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาพลศึกษา (พ14101) กลุ่
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน
ชื่อ-สกุล จักรพันธ์ ยังพระเดช
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านบางกะปิ สำนักงานเขตบางกะปิ
ปีการศึกษา 255๗
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ได้ยึดหลักกระบวนการสอนพลศึกษา 5 ขั้นตอน จึงสร้างเอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการสอนพลศึกษา 5 ขั้นตอน สำหรับครูผู้สอนและนักเรียนได้ใช้ประกอบการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานเทเบิลเทนนิสที่ถูกต้อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านบางกะปิ สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) จับฉลากมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี ๖ ชนิด คือ 1) เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติทักษะพื้นฐานการเล่นเทเบิลเทนนิส ๕) แบทดสอบสมรรถภาพทางกาย และ ๖) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬา เทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน การศึกษาใช้กระบวนการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) t–test แบบ Dependent ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 89.08/86.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เมื่อจำแนกเป็นรายเล่ม พบว่า เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน เล่ม 1 ประวัติความเป็นมา ประโยชน์และการอบอุ่นร่างกาย มีประสิทธิภาพ 90.53/86.25 เล่ม ๒ อุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิส การจับไม้และท่าเตรียมพร้อม มีประสิทธิภาพ 88.89/85.50 เล่ม ๓ การสร้างความคุ้นเคยกับไม้และลูกเทเบิลเทนนิส มีประสิทธิภาพ 89.17/85.75เล่ม 4 การตีลูกเทเบิลเทนนิสด้านหน้ามือและหลังมือ มีประสิทธิภาพ 85.38/84.25 เล่ม 5 การส่งลูกเริ่มเล่น (การเสิร์ฟ) มีประสิทธิภาพ 89.83/87.75 เล่ม 6 กติกาและการเล่นเทเบิลเทนนิสประเภทเดี่ยว มีประสิทธิภาพ 90.83/86.75 และ เล่ม 7 กติกาและการเล่นเทเบิลเทนนิสประเภทคู่ มีประสิทธิภาพ 88.92/86.00
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ( =16.73) สูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ( =10.63) เป็นไปตาม สมติฐานที่ตั้งไว้
3. ทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนร้อยละ ๙7.86 ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะพื้นฐานการเล่นเทเบิลเทนนิส เมื่อพิจารณาเป็นระดับผลการประเมิน พบว่า นักเรียนร้อยละ ๔๖.07 มีทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสอยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือระดับดี ร้อยละ ๔๔.29 เมื่อพิจารณาเป็นรายเล่ม พบว่า เล่ม ๑ ประวัติความเป็นมา ประโยชน์และการอบอุ่นร่างกาย เล่ม ๒ อุปกรณ์การเล่นเทเบิลเทนนิส การจับไม้และท่าเตรียมพร้อม และเล่ม ๓ การสร้างความคุ้นเคยกับไม้และลูกเทเบิลเทนนิส นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
4. สมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาเทเบิลเทนนิส โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยสมรรถภาพทางกายของนักเรียนหลังการฝึกทักษะ ( = 17.73) สูงกว่าก่อนการฝึกทักษะ ( = 15.78) เป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้
5. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด บันได ๖ ขั้น ฝึกทักษะการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักเรียนชอบเล่นเทเบิลเทนนิสเพิ่มมากขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ( =4.75) เอกสารประกอบการเรียนช่วยให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น ( =4.70) นักเรียนสามารถใช้เอกสารประกอบการเรียนได้ด้วยตนเอง ( =4.68) นักเรียนเรียนด้วยความพึงพอใจและสนุกสนาน ( =4.63) นักเรียนชอบเรียนวิชาพลศึกษาเพิ่มมากขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ( =4.58) เอกสารประกอบการเรียนทำให้นักเรียนมีความสามารถในการเล่น เทเบิลเทนนิสเพิ่มขึ้น ( =4.55) และนักเรียนอยากได้เอกสารประกอบการเรียนที่แปลกใหม่ ( = 4.53)