การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้ศึกษา วชิระ โคตะโน
สถานศึกษา โรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/9 โรงเรียนร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 17 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า T- test dependent samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.47/84.21
2. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.5994 คิดเป็นร้อยละ 59.94
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48