รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
พลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน : นางสาวสุชาดา ชุติไพจิตร
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์)สำนักงานเขตคลองสามวา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัยแบบ Pretest-Posttest Dependent
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t – test)
ผลการทดลอง พบว่า 1) เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.96/85.11 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง การละเล่นพื้นบ้านอาเซียน อยู่ในระดับมากที่สุด