การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ผู้ประเมิน นายวชิระ อาจเอื้อม ผู้อำนวยการโรงเรียนสกลวิสุทธิ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
(1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมโครงการ พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ (2) เพื่อประเมิน ปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ (3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ และ (4) เพื่อประเมินผลผลิต โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปี การศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสกลวิสุทธิ ประกอบด้วย นักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 63 คน ครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 63 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 จ ำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ และรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบสอบถามการประเมินสภาวะแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปี การศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ (2) แบบสอบถามการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนา ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ (3) แบบสอบถามการ ประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน สกลวิสุทธิ (4) แบบสอบถามประเมินผลผลิต คุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสกลวิสุทธิ (5) แบบบันทึกรายงานการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2559 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพนักเรียน ประเด็นผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์โรงเรียนสกลวิสุทธิ (8) แบบบันทึกรายงานผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสกลวิสุทธิ (9) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการด าเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ ระหว่าง .88 - .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า (1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ความต้องการและความ จ าเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบาย และความเป็นได้ของ โครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน (2) ผลการ ประเมินด้านปัจจัยน าเข้าของโครงการ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ การบริหาร จัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน (3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ การวางแผน (P) การด าเนินการ (D) การ ติดตามและประเมินผล (C) และการน าผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน (4) ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสกลวิสุทธิ ด้านผลผลิต ปรากฏผล ดังนี้ (4.1) ผลการ ประเมินด้านผลผลิต คุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน (4.2) ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 คุณภาพนักเรียน ประเด็น คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์การประเมิน (4.3) ผลการทดสอบการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2559 ค่าเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ในปีการศึกษา 2558 ทุกรายวิชาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน (4.4) ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนิน โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ จากการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสกลวิสุทธิ ประจำปี การศึกษา 2559 ผู้ประเมินมีประเด็นที่จะเป็นข้อเสนอแนะดังนี้
1. ข้อเสนอแนะทั่วไป 1.1 ให้มีการนำผลประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไปใช้ในการ ดำเนินงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและพัฒนานักเรียนด้านต่างๆ 1.2 ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ต่อไป 1.3 ผู้บริหารมีความสำคัญยิ่งต่อความส าเร็จของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่และให้ขวัญกำลังใจครู ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. ข้อเสนอแนะสำหรับกำรวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการนำผลการประเมินไปจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เรียน
2.2 ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นอกเหนือจาก รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่ เกิดกับนักเรียน