เผยแพร่ ผลงานทางวิชาการรายกาการใช้บทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา
ผู้วิจัย นางกาญจนา สีสัตย์ซื่อ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนภักดีชุมพลวิทยา อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก (กรมวิชาการ. 2551 ข : 4-5) ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวนโรงเรียน 37 โรง จำนวนนักเรียน 1,221 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภักดีชุมพลวิทยา สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 24 แผน บทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีตอการเรียนดวยบทเรียนสำเร็จรูป ที่ผูวิจัยสรางขึ้น เปนแบบมาตราสวนประมาณคา (Rating Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง นอย และนอยที่สุด จํานวน 10 ขอ
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. บทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 92.09 / 87.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับความพึงพอใจ 47.61 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการวิจัยทำให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการที่จะพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป ในรูปแบบต่าง ๆ โดยนำแนวคิดที่ได้จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเพราะจากผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าบทเรียนสำเร็จรูป พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์เสมือนกับการเรียนกับครูผู้สอนโดยตรง สามารถสร้างแรงจูงใจทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้น อยากเรียน สนุกสนานและมีความสุขในการเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามลำดับต่อไป