ผลงานวิจัยการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ
๑. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน
๒. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน
โดยการศึกษาในครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองครัวเรือนต้นแบบ ครัวเรือนเครือข่ายและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้าร่วมโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลใน ๓ วิธี คือ เก็บจากการสัมภาษณ์ จากการสนทนากลุ่ม และเก็บด้วยแบบสอบถาม โดยไม่ซ้ำกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างจากการสัมภาษณ์ จำนวน ๕๐ คน กลุ่มตัวอย่างจากการสนทนากลุ่ม จำนวน ๒๘ คน และกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จำนวน ๓๙๙ คน ผลการศึกษา พบว่า
๑. ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก
ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
๑.๑ องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน โดยผู้ปกครอง พบว่า ทำให้เด็กปฐมวัยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการอ่านในการร่วมกิจกรรมการอ่าน เรียงจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้
๑) เด็กปฐมวัยสนใจการเล่านิทานจากหนังสือมาก
๒) เด็กปฐมวัยชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือมาก
๓) เด็กปฐมวัยอยากอ่านหนังสือ
๔) เด็กปฐมวัยสนใจฟังการอ่านหนังสือมาก
๕) การส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยจะส่งผลต่อเด็กปฐมวัยให้อยากอ่านหนังสือ
๖) เด็กปฐมวัยชอบฟังการอ่านหนังสือมาก
๗) เด็กปฐมวัยอยากเล่านิทานจากหนังสือด้วยตนเองมาก
๘) เด็กปฐมวัยอยากร่วมกิจกรรมการอ่านในครัวเรือน
๑.๒ องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน โดยผู้ปกครอง พบว่า ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพัฒนาการอ่าน เรียงจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังนี้
๑) เด็กปฐมวัยจำนิทานที่เคยได้ฟังบางเรื่องได้
๒) เด็กปฐมวัยมีหนังสือเล่มโปรด
๓) เด็กปฐมวัยอ่านหนังสือนิทานบางเรื่องได้ (อ่านแบบจำมา)
๔) เด็กปฐมวัยเร่งรัดผู้ปกครองให้อ่านหนังสือให้ฟัง โดยสม่ำเสมอทุกวัน
๕) เด็กปฐมวัยเลือกหนังสือที่ชอบด้วยตนเอง
๖) เด็กปฐมวัยชอบหยิบหนังสือมาเปิดดูเป็นประจำ
๗) ในบางครั้งเด็กปฐมวัยชอบจินตนาการตามนิทานหรือเรื่องที่ฟัง
๘) เด็กปฐมวัยสนใจร่วมกิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟัง
๙) เด็กปฐมวัยชอบหนังสือบางเล่มเป็นพิเศษ (รู้สึกเป็นเจ้าของ)
๑๐) เด็กปฐมวัยชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือ
๑๑) เด็กปฐมวัยอ่านหนังสือนิทานบางเรื่องออก
๑๒) เด็กปฐมวัยดูแลเก็บรักษาหนังสือเป็นอย่างดี
๑๓) เด็กปฐมวัยชอบเล่านิทาน
๑๔) เด็กปฐมวัยเล่านิทานที่เคยได้ฟังได้
๑.๓องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน โดยผู้ดูแลเด็ก พบว่า ทำให้เด็กปฐมวัยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการอ่านในการร่วมกิจกรรมการอ่าน เรียงจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้
๑) เด็กปฐมวัยสนใจการเล่านิทานจากหนังสือมาก
๒) เด็กปฐมวัยเมื่อฟังเพื่อนเล่านิทานแล้วอยากเล่าบ้าง
๓) เด็กปฐมวัยชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือมาก
๔) เด็กปฐมวัยอยากอ่านหนังสือ
๕) การส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กปฐมวัยจะส่งผลต่อเด็กให้อยากอ่านหนังสือ
๖) เด็กปฐมวัยสนใจฟังการอ่านหนังสือมาก
๗) เด็กปฐมวัยอยากเล่านิทานให้เพื่อนฟังมาก
๘) เด็กปฐมวัยชอบฟังการอ่านหนังสือมาก
๙) เด็กปฐมวัยอยากเล่านิทานจากหนังสือด้วยตนเองมาก
๑๐) เด็กปฐมวัยอยากร่วมกิจกรรมการอ่านในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๑.๔ องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน โดยผู้ดูแลเด็ก พบว่า ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพัฒนาการอ่าน เรียงจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังนี้
๑) เด็กปฐมวัยมีหนังสือเล่มโปรด
๒) เด็กปฐมวัยจำนิทานที่เคยได้ฟังบางเรื่องได้
๓) เด็กปฐมวัยชอบหยิบหนังสือมาเปิดดูเป็นประจำ
๔) เด็กปฐมวัยอ่านหนังสือนิทานบางเรื่องได้ (อ่านแบบจำมา)
๕) เด็กปฐมวัยเร่งรัดผู้ดูแลเด็กให้อ่านหนังสือให้ฟัง โดยสม่ำเสมอเป็นประจำ
๖) เด็กปฐมวัยชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือ
๗) เด็กปฐมวัยชอบหนังสือบางเล่มเป็นพิเศษ (รู้สึกเป็นเจ้าของ)
๘) เด็กปฐมวัยชอบอยู่ในมุมหนังสือของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๙) เด็กปฐมวัยเลือกหนังสือที่ชอบด้วยตนเอง
๑๐) เด็กปฐมวัยสนใจร่วมกิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟัง
๑๑) เด็กปฐมวัยชอบจินตนาการตามนิทานหรือเรื่องที่ฟัง
๑๒) เด็กปฐมวัยดูแลเก็บรักษาหนังสือเป็นอย่างดี
๑๓) เด็กปฐมวัยเล่านิทานที่เคยได้ฟังได้
๑๔) เด็กปฐมวัยชอบเล่านิทานเป็นประจำ
๑๕) เด็กปฐมวัยอ่านหนังสือนิทานบางเรื่องออก
๒. ผลการศึกษาจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก
ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ผลการศึกษา ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
๒.๑ องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน จากการสนทนากลุ่มผู้ปกครองครัวเรือนต้นแบบ ผู้ปกครองครัวเรือนเครือข่าย และผู้ดูแลเด็ก พบว่า ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพัฒนาการอ่าน ดังนี้
๑) เด็กปฐมวัยให้ความสนใจฟังการเล่านิทานจากหนังสือ โดยนั่งฟังอย่างสนใจ อยากดูภาพที่ครูเล่า อยากให้เล่าตามภาพที่เห็น และมีคำถามจากเรื่องที่เล่า
๒) เด็กปฐมวัยให้ความสนใจฟังการอ่านหนังสือ
๓) เด็กปฐมวัยอยากเล่านิทานหลังจากได้ฟังเพื่อนเล่านิทาน นำหนังสือมาเปิดดูภาพและเล่าตามภาพ
๔) เด็กปฐมวัยอยากอ่านหนังสือนิทาน โดยเฉพาะหนังสือนิทานที่มีภาพ เช่น ภาพสัตว์ จะทำให้อยากอ่านมาก ขณะที่ครูกำลังเล่า เด็กจะเล่าตามไปด้วย
๕) เด็กปฐมวัยอยากอ่านหนังสือที่มีรูปภาพระบายสี
๒.๒ องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน จากการสนทนากลุ่มผู้ปกครองครัวเรือนต้นแบบ ผู้ปกครองครัวเรือนเครือข่าย และผู้ดูแลเด็ก พบว่า ทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพัฒนาการอ่าน ดังนี้
๑) เด็กปฐมวัยเร่งรัดให้อ่านหนังสือให้ฟัง ทุกวัน วันละหลายครั้ง “เด็กจะนำหนังสือเล่มที่ชอบจากบ้านมาให้ครูอ่านที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีกครั้ง” “เล่มที่ชอบจะนำมาให้ผู้ปกครองอ่านให้ฟังบ่อยๆ”
๒) เด็กปฐมวัยชอบหยิบหนังสือมาเปิดดูมาก “จึงเป็นตัวชี้วัดได้ว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ มีแนวโน้มว่าชอบอ่านหนังสือในอนาคต”
๓) เด็กปฐมวัยชอบเล่านิทาน ขณะที่ครูกำลังเล่า เด็กจะเล่าตามไปด้วย เด็กดูภาพในหนังสือและเล่าตามภาพ
๔) เด็กปฐมวัยมีหนังสือเล่มที่ชอบเป็นพิเศษ ชอบหนังสือที่เป็นคำกลอน เป็นโคลงมีสัมผัสทางภาษา หนังสือที่มีภาพน่าสนใจ “เด็กชอบฟังการอ่านหนังสือบางเล่มเป็นพิเศษและนำไปเล่าต่อได้” “สนใจหนังสือที่มีสีสันและภาพประกอบ” “เด็กชอบหนังสือที่มีสีสันสวยงามเป็น อันดับแรก”
๕) เด็กปฐมวัยมีหนังสือเล่มโปรด เด็กจะไปหยิบหนังสือมาให้ครูอ่านให้ฟัง
๖) เด็กปฐมวัยสามารถเล่านิทานที่เคยได้ฟังได้ โดยการซึมซับจากฟังบ่อยๆ และเล่าเลียนแบบน้ำเสียงของตัวละครจากที่ฟังมา
๗) เด็กปฐมวัยจำนิทานที่เคยได้ฟังบางเรื่องได้ โดยเด็กจะจำนิทานที่มีภาพประกอบได้ดี มีบางคนสามารถเล่านิทานได้เป็นอย่างดี เช่น เด็กหญิงปาณิสา ฤทธิโชติ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอู่ทอง ตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ เล่าเรื่อง “แอปเปิ้ล” โดยที่ไม่ต้องมีหนังสือประกอบ
๘) เด็กปฐมวัยสนใจฟังการอ่านหนังสือที่มีรูปภาพ “เด็กชอบฟังการอ่านหนังสือนิทานมากกว่า” “สนใจหนังสือภาพมากกว่าหนังสืออื่น” “ถ้ามีภาพ มีสีสัน จะสนใจมากกว่า เช่น ภาพสัตว์”
๙) เด็กปฐมวัยสามารถอ่านหนังสือนิทานบางเรื่องได้โดยอ่านแบบจำมา โดยจินตนาการเพิ่มเข้าไปไม่ตรงกับเนื้อหาจริงบ้าง
๑๐) เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ ยังอ่านหนังสือไม่ออก อ่านออกบางคน อ่านออกเป็นบางคำ แต่พยายามอ่านและจะถามว่าอ่านอย่างไร ให้อ่านให้ฟัง
๑๑) เด็กปฐมวัยชอบจินตนาการ หลังจากการฟัง เด็กจะขีดเขียน วาดรูป ต้นไม้ สัตว์ต่างๆ และระบายสี เหมือนภาพที่เห็นจากนิทาน
๑๒) เด็กปฐมวัยชอบอยู่ในมุมหนังสือ และก่อนเวลานอนจะหยิบหนังสือมาด้วย ขณะที่เด็กอื่นๆ อยู่ในมุมของเล่น
๑๓) เด็กปฐมวัยจะเลือกหนังสือที่ชอบเอง โดยเฉพาะหนังสือนิทานเรื่องเดิมที่เคยให้เล่าซ้ำๆ
๑๔) เด็กปฐมวัยจะเก็บหนังสือเข้าที่ แต่ไม่เรียบร้อยมากนัก
๑๕) เด็กปฐมวัยเกิดนิสัยรักการอ่าน โดยขึ้นอยู่กับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมการอ่านที่ดีให้กับเด็ก
๓. ผลการศึกษาจากการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
๑) ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวม จำนวน ๒ องค์ประกอบ คือ การร่วมกิจกรรมการอ่านและพฤติกรรมการอ่าน ดังนี้
๑.๑) องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก การร่วมกิจกรรมการอ่านที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย โดยรวม อยู่ในระดับมาก
๕ ลำดับแรก คือ การเล่านิทานจากหนังสือให้เด็กฟัง การส่งเสริมการอ่านในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยผู้ดูแลเด็ก การส่งเสริมการอ่านควรปลูกฝังกันตั้งแต่ปฐมวัย การวาดรูปตามจินตนาการจากการฟังนิทานจากหนังสือ และการฟังการเล่านิทานจากหนังสือทำให้เด็กอยากอ่านหนังสือ ตามลำดับ
๑.๒) องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน โดยรวม อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการอ่าน ที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย โดยรวม อยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ เด็กชอบหยิบหนังสือมาเปิดดู เด็กเลือกหนังสือที่ชอบด้วยตนเอง เด็กชอบหนังสือบางเล่มเป็นพิเศษ(รู้สึกเป็นเจ้าของ) เด็กชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือ และเด็กมีหนังสือเล่มโปรด ตามลำดับ
๒) ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ปกครองครัวเรือนต้นแบบ จำนวน ๒ องค์ประกอบ คือ การร่วมกิจกรรมการอ่านและพฤติกรรมการอ่าน ดังนี้
๒.๑) องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่านโดยผู้ปกครองครัวเรือนต้นแบบอยู่ในระดับมาก การร่วมกิจกรรมการอ่านที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ การเล่านิทานจากหนังสือให้เด็กฟัง การส่งเสริมการอ่านในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยผู้ดูแลเด็ก การส่งเสริมการอ่านควรปลูกฝังกันตั้งแต่ปฐมวัย การวาดรูปตามจินตนาการจากการฟัง (การอ่านให้ฟัง) นิทานจากหนังสือ และการฟังการเล่านิทานจากหนังสือทำให้เด็กอยาก อ่านหนังสือ ตามลำดับ
๒.๒) องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่านโดยผู้ปกครองครัวเรือนต้นแบบอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการอ่านที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ เด็กชอบหนังสือบางเล่มเป็นพิเศษ(รู้สึกเป็นเจ้าของ) เด็กชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือ เด็กชอบหยิบหนังสือมาเปิดดู เด็กเลือกหนังสือที่ชอบด้วยตนเอง และเด็กมีหนังสือเล่มโปรด ตามลำดับ
๓) ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ปกครองครัวเรือนเครือข่าย จำนวน ๒ องค์ประกอบ คือ การร่วมกิจกรรมการอ่านและพฤติกรรมการอ่าน ดังนี้
๓.๑) องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน โดยผู้ปกครองครัวเรือนเครือข่ายอยู่ในระดับมาก การร่วมกิจกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ การให้เด็กเล่านิทาน
จากหนังสือให้เพื่อนฟัง การส่งเสริมการอ่านในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยผู้ดูแลเด็ก การเล่านิทานจากหนังสือให้เด็กฟัง การส่งเสริมการอ่านควรปลูกฝังกันตั้งแต่ปฐมวัยและการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ตามลำดับ
๓.๒) องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน โดยผู้ปกครองครัวเรือนเครือข่ายอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ เด็กชอบหยิบหนังสือมาเปิดดู เด็กมีหนังสือเล่มโปรด เด็กเลือกหนังสือที่ชอบด้วยตนเอง เด็กชอบหนังสือบางเล่มเป็นพิเศษ(รู้สึกเป็นเจ้าของ) และเร่งรัดให้อ่านหนังสือนิทานให้ฟังโดยสม่ำเสมอทุกวัน เด็กสนใจร่วมกิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟัง ตามลำดับ
๔) ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ดูแลเด็ก จำนวน ๒ องค์ประกอบ คือ การร่วมกิจกรรมการอ่านและพฤติกรรมการอ่าน ดังนี้
๔.๑) องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่าน โดยผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับมาก การร่วมกิจกรรมการอ่าน อยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ การเล่านิทานจากหนังสือให้เด็กฟัง การส่งเสริมการอ่านควรปลูกฝังกันตั้งแต่ปฐมวัย การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง การปั้นดินน้ำมันตามจินตนาการจากการฟัง (การอ่านให้ฟัง) นิทานจากหนังสือ และการฟังการเล่านิทานจากหนังสือทำให้เด็กอยาก อ่านหนังสือ ตามลำดับ
๔.๒) องค์ประกอบพฤติกรรมการอ่าน โดยผู้ดูแลเด็กอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก ๕ ลำดับแรก คือ เร่งรัดให้อ่านหนังสือนิทานให้ฟังโดยสม่ำเสมอทุกวัน เด็กชอบหยิบหนังสือมาเปิดดู เด็กเลือกหนังสือที่ชอบด้วยตนเอง เด็กสนใจร่วมกิจกรรมการอ่านหนังสือให้ฟัง และเด็กเล่านิทานที่เคยได้ฟังได้ เด็กชอบฟังการเล่านิทานจากหนังสือ เด็กชอบอยู่ในมุมหนังสือของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามลำดับ
๕) ผลการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ผลการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏดังนี้
๕.๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการอ่านที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
ประเด็น
ความถี่
๕.๑.๑) การเล่านิทานให้เด็กปฐมวัยฟัง
๔๓
๕.๑.๒) การอ่านหนังสือให้เด็กปฐมวัยฟัง
๑๗
๕.๑.๓) การอ่านนิทานให้เด็กปฐมวัยฟัง
๑๓
๕.๑.๔) การระบายสีวาดภาพ
๔
๕.๑.๕) การเล่าเรื่องให้เด็กปฐมวัยฟังพร้อมภาพประกอบ
๔
๕.๑.๖) ผู้เฒ่าเล่านิทาน
๓
๕.๑.๗) ชวนเด็กปฐมวัยอ่านหนังสือพร้อมแสดงประกอบ
๖
๕.๑.๘) ดูการ์ตูนจากหนังสือนิทาน
๕
๕.๑.๙) ร้องเพลงให้เด็กฟัง
๑
๕.๑.๑๐) จับกลุ่มในมุมหนังสือ
๒
๕.๑.๑๑) การปั้นดินน้ำมันตามรูป
๑
๕.๒)ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
ประเด็น
ความถี่
๕.๒.๑ วาดภาพตามจินตนาการ
๑๔
๕.๒.๒ อ่านหนังสือและเล่านิทาน ให้เพื่อนฟังในห้อง
๑๑
๕.๒.๓ เล่านิทานตามรูปภาพและเล่าจากเรื่องที่เคยฟังได้
๕
๕.๒.๔ เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการได้แสดงออก
๔
๕.๒.๕ มีระเบียบ วินัยความรับผิดชอบ
๓
๕.๒.๖ อ่านได้ ฟังรู้เรื่อง
๓
๕.๒.๗ เรียนรู้คำศัพท์จากตัวละคร
๒
๕.๒.๘ เสริมทักษะการใช้ภาษา
๒
๕.๒.๙ ให้เด็กอ่านเอง
๑
๕.๓ ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย เมื่อผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กเล่าหรืออ่านนิทานจากหนังสือให้ฟังมีดังนี้
ประเด็น
ความถี่
๕.๓.๑ สนใจ
๑๗๘
๕.๓.๒ ชอบอ่าน ฟัง นิทานเรื่องเดิมซ้ำ
๒๓
๕.๓.๓ มีจินตนาการ
๑๔
๕.๓.๔ ชอบเล่าเรื่องนิทานจากรูปภาพให้เพื่อนฟัง
๑๓
๕.๓.๕ เด็กมีสมาธิ อารมณ์ดี สนุกสนาน
๑๒
๕.๓.๖ ขยันอ่านหนังสือมากขึ้น
๑๐
๕.๓.๗ กล้าคิด กล้าแสดงออก
๗
๕.๓.๘ ซักถามข้อสงสัย ที่ไม่เข้าใจ
๖
๕.๓.๙ วาดภาพ ตามจินตนาการ
๖
๕.๓.๑๐ เด็กชอบให้อ่านนิทานให้ฟัง
๖
๕.๓.๑๑ พัฒนาการ ทักษะดีขึ้น
๔
๕.๓.๑๒ เลือกหนังสือนิทานด้วยตนเอง
๔
๕.๓.๑๓ อยากเห็นตัวละคร เลียนแบบตัวละคร
๓
๕.๓.๑๔ เด็กเริ่มอ่านหนังสือออก วาดรูปได้
๒
๕.๓.๑๕ ซักถามตัวละคร
๑
๕.๓.๑๖ ชอบอ่านนิทานที่ตื่นเต้น
๑
๕.๔ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏดังนี้
ประเด็น
ความถี่
๕.๓.๑ สนใจ
๑๗๘
๕.๔.๑ ต้องการให้มีกิจกรรมนี้บ่อยๆ เป็นโครงการที่ดีมาก
๒๐
๕.๔.๒ ควรมีสื่อ นิทานที่หลากหลาย
๑๑
๕.๔.๓ เมื่อมีการจัดกิจกรรม ให้เด็กทุกคนมีส่วนร่วม
๘
๕.๔.๔ จำนวนหนังสือบริการ ควรมีจำนวนมาก
๖
๕.๔.๕ หนังสือควรมีสีสัน สวยงาม และคงทน
๖
๕.๔.๖ ควรมีรางวัลให้เด็ก
๔
๕.๔.๗ ควรจัดหนังสือที่หลากหลายให้ครัวเรือนต้นแบบ
๔
๕.๔.๘ เมื่อมีการจัดกิจกรรม ควรจัดให้มีห้องสมุดเคลื่อนที่
๔
๕.๔.๙ หนังสือควรมีตัวอักษรน้อยๆ มีรูปภาพมากๆ
๔
๕.๔.๑๐ ต้องการให้มีกิจกรรมที่นำเด็กมาฝึกอ่านหนังสือโดยมีครูผู้สอน
๒
๕.๔.๑๑ ควรมีกิจกรรมที่หลากหลาย
๒
๕.๔.๑๒ เมื่อมีการจัดโครงการควรมีกิจกรรมเล่านิทานให้เพื่อนฟังทุกครั้ง
๒
๕.๔.๑๓ ควรมีการส่งเสริมการอ่านให้ทั่วถึงทุกพื้นที่
๑
๕.๔.๑๔ ควรจัดนิทรรศการ หรือฉากตัวละคร ให้สวยงาม
๑
๕.๔.๑๕ ควรสนับสนุน นิทาน ๓ มิติ
๑
๕.๔.๑๖ ควรสนับสนุน นิทานวิทยาศาสตร์
๑
๕.๔.๑๗ ควรมีนิทานพื้นบ้าน
๑
๕.๔.๑๘ ควรมีหนังสือที่เหมาะสมกับเด็กตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไป
๑
๕.๔.๑๙ ควรมีกระเป๋าหนังสือสู่ครัวเรือนให้ครอบคลุม
๑
๕.๔.๒๐ ควรมีห้องสมุดในทุกพื้นที่
๑
๕.๔.๒๑ ต้องการให้มีสื่อประกอบ เช่น หุ่นมือ
๑
ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนแนวทางในการแก้ปัญหา
จากการติดตามผลการดำเนินงานโดยการศึกษาค้นคว้าและสาระสำคัญจากการอภิปรายผลดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปสู่การปฏิบัติและติดตามผล ดังนี้
๑) ประสิทธิภาพการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยโดยครัวเรือนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ตำบลนำร่อง) จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์ประกอบการร่วมกิจกรรมการอ่านที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การเล่านิทานจากหนังสือให้เด็กฟัง จะทำให้เด็กรักการอ่านตามผลการศึกษา ดังนั้น หากรัฐต้องการเพิ่มการอ่านของไทยให้ได้ ๑๐ เล่มต่อปีโดยคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอย่างจริงใจ รัฐบาลควรเริ่มต้นส่งเสริมการอ่านตั้งแต่เด็ก เริ่มต้นจากครอบครัว โดยรัฐควรนำเรื่องนี้กำหนดเป็นนโยบาย แผนงาน โครงการ มอบหมายองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง ทั่วทั้งประเทศ เป็นเจ้าภาพหลักประสานทุกหน่วยงานด้านสังคมมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาการอ่านตามรูปแบบโครงการเด็กนครหนอนหนังสือ พร้อมสนับสนุนงบประมาณดำเนินการพอสมควร
๒) เด็กปฐมวัยชอบหนังสือนิทานภาพ หรือหนังสือภาพและหนังสือภาพเป็นสื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสมองและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็ก โดยเฉพาะช่วงอายุแรกเกิด จนอายุ ๖ ปี หรือที่เรียกว่า “ปฐมวัย” เป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตที่จะพัฒนาการด้านสมอง การพัฒนาการอ่านด้วยหนังสือภาพที่เด็กชอบเป็นการปลูกฝังการรักการอ่านของเด็กได้เป็นอย่างดี ดังนั้น บุคคล หน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนควรส่งเสริมการอ่านที่เริ่มต้นจากหนังสือภาพที่มีคุณภาพที่ได้รับการคัดสรรเป็นอย่างดี ไม่ควรนำหนังสืออื่นใดที่ไม่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายตั้งแต่เยาว์วัยได้
๓) หนังสือภาพคุณภาพ เกิดจากนักวาด นักเขียนที่ดีที่รู้สภาพความต้องการของสังคม ดังนั้น รัฐควรสนับสนุนบริษัท ห้างร้าน นักเขียน นักประพันธ์ เขียนหนังสือสำหรับเด็กให้มากขึ้น พัฒนานักเขียน นักแต่งหนังสือสำหรับเด็ก เปิดสอนการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก ประกวดหนังสือสำหรับเด็ก เพื่อคัดสรรหนังสือคุณภาพ และรัฐควรสนับสนุนงบประมาณ จัดซื้อหนังสือให้ทั่วถึง หรือคูปองหนังสือ
๔) การส่งเสริมการอ่านในครัวเรือน ประชาสัมพันธ์การพัฒนาการอ่านให้ผู้ปกครอง พ่อ แม่ มีความรู้ว่าหนังสือภาพ คือ ตัวกระตุ้นที่ดีที่สุดในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ปฐมวัยไม่ใช่วัยสำหรับยัดเหยียดความรู้ แต่เป็นวัยสำหรับพัฒนาความสามารถในการรับรู้ เมื่อได้หนังสือที่ดีแล้ว ควรมีโอกาสเวลาแห่งการอ่านที่ดีด้วย คือ เวลาที่สมองปลอดโปร่ง ไม่มีสิ่งล่อตารบกวนโสตประสาท บรรยากาศเงียบๆ จะทำให้น้ำเสียงที่ผู้ใหญ่อ่านนั้นมีพลังและทำให้เด็กเกิดสมาธิ การอ่านหนังสือให้ลูกฟังก่อนนอน จึงนับเป็นการสร้างความสุขให้กับลูก ลูกจะได้รับความเพลิดเพลินเจริญใจ ในเวลานั้นคลื่นสมองจะซึมซับรับเอาพลังของหนังสือภาพไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ ภาพมีความสำคัญต่อเด็กมาก ขณะที่หูฟังเสียงอ่าน เล่าเรื่องราวจากผู้ใหญ่สายตาของเด็กก็ไล่ดูภาพและสนุกกับภาพ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย ดังนั้น ผู้ปกครอง พ่อ แม่ ควรเริ่มต้นจากการอ่านหนังสือภาพให้ลูกฟังก่อนนอน
๕) ผลจากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า การเล่านิทาน การอ่านหนังสือ และการอ่านนิทานให้เด็กปฐมวัยฟัง จะส่งผลต่อการอ่านของเด็กปฐมวัย ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐ ควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และกำหนดเหตุจูงใจให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง อ่านหนังสือหรือเล่านิทานให้เด็กปฐมวัยฟังก่อนนอนโดยสม่ำเสมอ จะสามารถพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัยได้ และการอ่านหนังสือให้เด็กปฐมวัยฟัง โดยเฉพาะหนังสือนิทานให้ฟังก่อนนอน จะทำให้เด็กปฐมวัยว่านอนสอนง่าย ง่ายต่อการบ่มเพาะคุณธรรมและจริยธรรมอีกด้วย
๖) ผลจากการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่ควรนำไปสู่การปฏิบัติ พบว่า การวาดภาพตามจินตนาการเป็นพฤติกรรมการอ่านที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านของเด็กปฐมวัย ดังนั้น ผู้ปกครองหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรสนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์การวาดภาพตามจินตนาการให้แก่เด็กปฐมวัย
๗) กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาน กศน.หรือหน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงอื่น และเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดัน ขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านในชุมชน ให้เกิดชุมชนรักการอ่าน หรือชุมชนนักอ่าน อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
๘) รัฐ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่ารัฐบาลใด ต้องให้ความสำคัญกับการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ทุกรัฐบาล
นโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ว่าเมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑ คนไทยต้องอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ ๑๐ เล่มต่อปี เป็นไปตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กำหนดให้การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ แก้ปัญหาสังคมได้โดยรวม และจะได้นำแนวทางไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาบุคลากรเพื่อการส่งเสริมการอ่าน ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที จัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมและพอดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละโครงการหรือแต่ละกลุ่มในระดับปฏิบัติ สร้างความร่วมมือเครือข่ายการส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการอ่าน
ดาวน์โหลดเอกสาร
ดาวน์โหลดเอกสาร http://202.143.162.194/koratsite2.05/UserFiles/Pdf/File.pdf