การประเมินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของโรงเรียนเทศบาลวัดแหลมสุวรรณ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของโรงเรียนเทศบาลวัดแหลมสุวรรณาราม
(วัฒนรวมวิทยา) จังหวัดสมุทรสาคร
สถานที่ โรงเรียนเทศบาลวัดแหลมสุวรรณาราม(วัฒนรวมวิทยา) อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของโรงเรียนเทศบาลวัดแหลมสุวรรณาราม
(วัฒนรวมวิทยา) จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมด้านบริบทของโครงการ ความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานโครงการ ระดับปฏิบัติด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ และระดับความพึงพอใจด้านผลผลิตของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน ครูและบุคลากรในโรงเรียนจำนวน 40 คน นักเรียนแกนนำธนาคารขยะรีไซเคิลจำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 190 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 190 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1. แบบประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมด้านบริบทของโครงการ 2. แบบประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3. แบบประเมินระดับปฏิบัติด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการและ 4. แบบประเมินความพึงพอใจด้านผลผลิตต่อการดำเนินงานของโครงการและแบบสัมภาษณ์ครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ
การเก็บรวมรวมข้อมูล ได้ดำเนินการเก็บข้อมูล ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินการและเมื่อสิ้นสุดโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ดังนี้
1. ความเหมาะสมด้านบริบทของโครงการ พบว่ามีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการตอบสนองนโยบายหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบทางด้านพัฒนาการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.89) 2. ความพร้อมด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานโครงการ พบว่ามีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69) รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อาคารสถานที่และบริเวณโรงเรียนเอื้อต่อการจัดกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87)
3. ความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ พบว่ามีระดับปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 5.00) และรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีกิจกรรมเสริมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.96)
4. ความพึงพอใจด้านผลผลิตของนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการดำเนินงานโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลในโรงเรียน พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90) รายการที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สภาพภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนมีความสะอาด เรียบร้อยน่าอยู่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.98)