การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา
ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแสนสำราญ
ผู้ศึกษา นางสาวปนัดดา อุทัยวัฒน์
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแสนสำราญ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแสนสำราญ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)
เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแสนสำราญ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะทางภาษา ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแสนสำราญ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนบ้านแสนสำราญ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด ได้แก่ 1) หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง จำนวน 30 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.78 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.33/84.17
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนประสมคำด้วยสระเปลี่ยนรูปและลดรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6666 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน 0.6666 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.66
3. เด็กที่เรียนโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยสรุป การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2
มีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนต่อไปได้