การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษา
ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรม บูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของครูปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูปฐมวัยโรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบ จำนวน 6 โรงเรียน ๆ ละ 2 คน จำนวน 12 คน โรงเรียนศูนย์ปฐมวัยต้นแบบเครือข่าย จำนวน 6 โรงเรียน ๆ ละ 2 คน จำนวน 12 คน และโรงเรียนทั่วไปที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 คัดเลือก จำนวน 6 โรงเรียน ๆ ละ 2 คน จำนวน 12 คน และรวมทั้งสิ้น 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) คู่มือการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 2) คู่มือการนิเทศ ติดตามการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 3) แบบประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการประเมินการนิเทศ ติดตามการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ด้วยกิจกรรมบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก