การประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภา
ผู้รายงาน นายโอภาส ไชยรัตน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2556
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP-Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมิน 2 ลักษณะ คือการประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้นและประเมินจากแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2556 ตามสภาพจริง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 28 คนประชากรคณะกรรมการนิเทศภายใน จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คนและกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 210 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ(Rating Scale) และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจคุณภาพของเครื่องมือโดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .82-.92 แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ปีการศึกษา 2556 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Window v.19
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิ์ภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการนิเทศภายในมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.50, = .45 )อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน( = 4.46, =.54) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิ์ภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 ด้านปัจจัยนำเข้าตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวม( = 4.39, = .37) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านความพร้อมของบุคลากรค่าเฉลี่ยสูงสุด( = 4.63, = .33 ) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ( = 4.37, =.45) อยู่ในระดับมากส่วนตัวชี้วัดด้านผู้สนับสนุนโครงการและความเพียงพอของงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 4.30, = .37 และ .33) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิ์ภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 ด้านกระบวนการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมินพบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด( = 4.43,SD. = .47)อยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมทุกประเด็นตัวชี้วัดรองลงมาได้แก่ ครู( = 4.39, =.47) อยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิ์ภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 ด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและคณะกรรมนิเทศภายใน พบว่าโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า คณะกรรมการนิเทศภายในมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.26 , = .57) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่กลุ่มนักเรียน
( = 4.04,SD. =50) อยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนนผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนปีการศึกษา 2556 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมระดับชั้นมัธยมศึกษาต้อนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าคะแนนเฉลี่ย ≥ ร้อยละ 70 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2556 สูงกว่าปีการศึกษา 2555 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 พบว่าโดยรวมโดยรวม( = 3.89, SD.= .56) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านครูส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้สูงสุด( = 4.27, SD.= .98) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ความคิดเห็นด้านครูส่งเสริมให้นักเรียนนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนของนักเรียน ( = 4.19, SD.= .96) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนตัวชี้วัดด้านครูมีเทคนิควิธีการสอนที่แปลกใหม่ สามารถถ่ายทอดให้เกิดความเข้าใจและปรับปรุงการสอนอยู่เสมอมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 3.70, SD.= .72)อยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนนผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 พบว่าโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด( = 4.36, SD.= .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.07,SD. = 70) อยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนนผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5 ผลประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมนิเทศภายใน พบว่า ( = 4.23, =.54) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดความพึงพอใจด้านการดำเนินกิจกรรมเยี่ยมนิเทศชั้นเรียน และด้านโรงเรียนเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินโครงการมีค่าสูงสุด( = 4.46, =.83,69) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ความพึงพอใจรายการดำเนินกิจกรรมการประชุม การอบรมสัมมนาทางวิชาการ( = 4.39, =.62) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ส่วนความพึงพอใจด้านการดำเนินกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้จากครูหรือโรงเรียนต้นแบบมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 3.96, =.88,92) อยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนนผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ปีการศึกษา 2556 โดยใช้รูปแบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
ค่าน้ำหนัก 100 ค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผลการประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม
ค่าน้ำหนัก 15 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าน้ำหนัก 15 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมินผลการประเมินด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ การประเมินผลการประเมินด้านผลผลิต
ค่าน้ำหนัก 50 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 50 ผ่านเกณฑ์ การประเมินผลการประเมินทั้ง 4 ด้าน
ค่าน้ำหนัก 100 ได้รวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปปรับปรุงใช้
1) โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเน้นจุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมนิเทศภายใน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) โรงเรียนอื่นๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนกอบกุลวิทยาคม ควรนำรูปแบบวิธีการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3) ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1) ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Mode)
2) ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3) ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนในลักษณะอื่น