รายงานการวิจัย การจัดการเรียนรู้ดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” ชั้นมั
รายงานการวิจัย การจัดการเรียนรู้ดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
ผู้ศึกษา นายอาทิตย์ วงค์สว่าง ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) การพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ในปีการศึกษา 2555 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) การพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) การพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชน บ้านบวกครกน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) การพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาศิลปะ (ดนตรี) 3) แบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) การพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้เอกสารปรกอบการสอนดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่าในภาพรวมพบว่า เอกสารประกอบการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยมีค่าประสิทธิภาพ( ) เท่ากับ 84.29/85.63 ซึ่งแสดงให้เห็นเอกสารปรกอบการสอนดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจากการใช้เอกสารประกอบการสอนดนตรีพื้นเมือง “ กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2555 พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) การพัฒนาการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีพื้นเมือง “กลองปูจา” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 พบว่าเจตคติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55