รายงานผลการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ
การศึกษาครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะจำแนกรายด้านและภาพรวมและเพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ จำแนกรายด้านและภาพรวม ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน เป็นนักเรียนชาย 7 คน นักเรียนหญิง 6 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาประกอบ ด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 30 กิจกรรม แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 30 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีวิธีการดำเนิน การศึกษาโดยใช้รูปแบบการทดลองกับประชากรกลุ่มเดียว (One Group Pretest-Posttest Design) คือ ดำเนินการ ประเมินการกล้ามเนื้อเล็กโดย ทั้ง 3 ด้าน คือ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, ความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะจำนวน 30 กิจกรรม จึงทำการประเมินการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เดียวกัน และทำการประเมินผล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาด้วยค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาได้ ดังนี้
1. ผลการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ ช่วง 10 สัปดาห์ พบว่า การการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำแนกรายด้าน ได้แก่ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, ความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และภาพรวมนักเรียนมีพัฒนาการเริ่มจากสัปดาห์แรกอยู่ในระดับปรับปรุง (1.97, 2.07, 1.92 และ1.99 คะแนน ตามลำดับ) หลังจากนั้นมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ จนถึงสัปดาห์ที่ 10 คะแนนอยู่ในระดับดี (2.87, 2.90, 2.92 และ 2.89 ตามลำดับ)
2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ จำแนกรายด้านและภาพรวม มีดังนี้ ความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก, ความสามารถในการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ก่อนการจัดกิจกรรม คะแนนจากการสังเกตพฤติกรรม คือ 7.15, 6.29, 7.46 และ 6.97 ตามลำดับ ต่ำกว่าหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ คือ 13.38, 13.23, 13.46 และ 13.36 ตามลำดับ ส่วนคะแนนความแตกต่างเฉลี่ยหลังจากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 41.53, 46.26, 40.00, และ 42.59 ตามลำดับ แสดงว่า การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะซึ่ง เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะทุกพฤติกรรมและภาพรวม