รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนชุมชนพลับพลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ปีการศึกษา 2559
ชื่อผู้รายงาน ว่าที่ร้อยตรีดนุวัศ ไชยสงค์
ปีที่รายงาน พ.ศ. 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนชุมชนพลับพลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อประเมินโครงการใน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบทของโครงการ(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของ สตัปเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลประกอบด้วย บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน และ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 153 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีลักษณะแบบมาตราประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบทของโครงการ ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ด้านผลผลิตของโครงการ
4.1 ผลการดำเนินโครงการผลการประเมินภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.2 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
1) ความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียน ต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
3) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4.3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2558 กับ 2559 หลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนปีการศึกษา 2558 กับ 2559 เปรียบเทียบตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ เปรียบเทียบตามระดับชั้น เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดไว้