รายงานการใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม
Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นายจักรพันธ์ แซงราชา
สถานศึกษา โรงเรียนนาแกราษฎร์อำนวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กาฬสินธุ์ เขต 2
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วย Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนนาแกราษฎร์อำนวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ค่าที t – test (dependent)
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ชุดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.80/86.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง การสร้างงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก = 4.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. =0.56