รายงานผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้อ
ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านทัพ อำเภแม่แจ่ม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทัพและเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการฟังและการพูดก่อนและหลังจัดกิจกรรมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง จำนวน 10 เล่มและคู่มือการใช้ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดจำนวน 30 แผน และแบบทดสอบวัดทักษะการฟังและการพูด ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 1 ชุด
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทัพ อำเภอแม่แจ่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 9 คน ใช้เวลาในการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 กำหนดระยะเวลาในการศึกษา 10 สัปดาห์ จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 3 วันในวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 รวม 30 ครั้ง ๆ ละ 20 นาที
วิเคราะห์ข้อมูลผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดระหว่างการจัดกิจกรรมระยะเวลา ที่กำหนดไว้ 10 สัปดาห์ เปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดก่อนและหลังจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปของตารางประกอบคำอธิบาย
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. ผลการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดระหว่างจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง ใช้เวลาสังเกตพฤติกรรมระยะเวลา 10 สัปดาห์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทัพ มีผลการพัฒนาโดยจำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม ดังนี้
ทักษะการฟังแล้วบอกหรือตอบคำถาม สัปดาห์แรกนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ย (µ) อยู่ที่ระดับพอใช้ (1.56) เมื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 10 นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ และมีผลการประเมินในสัปดาห์ ที่ 10 อยู่ที่ระดับดี (3.00) และมีผลการประเมินเฉลี่ยทั้ง 10 สัปดาห์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ (2.43)
ทักษะการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง สัปดาห์แรกนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ย (µ) อยู่ที่ระดับพอใช้ (1.52) เมื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 10 นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ และมีผลการประเมินในสัปดาห์ที่ 10 อยู่ที่ระดับดี (2.96) และมีผลการประเมินเฉลี่ยทั้ง 10 สัปดาห์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ (2.45)
ทักษะการพูดบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ สัปดาห์แรกนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ย (µ) อยู่ที่ระดับพอใช้ (1.67) เมื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 10 นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ และมีผลการประเมินในสัปดาห์ที่ 10 อยู่ที่ระดับดี (2.93) และมีผลการประเมินเฉลี่ยทั้ง 10 สัปดาห์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ (2.48)
ทักษะการพูดเล่าเรื่องราวเป็นประโยคสั้น ๆ สัปดาห์แรกนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ย (µ) อยู่ที่ระดับพอใช้ (1.67) เมื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองต่อไปจนถึงสัปดาห์ที่ 10 นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ และมีผลการประเมินในสัปดาห์ที่ 10 อยู่ที่ระดับดี (3.00) และมีผลการประเมินเฉลี่ยทั้ง 10 สัปดาห์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ (2.43)
ส่วนในภาพรวมทักษะการฟังและการพูด สัปดาห์แรกนักเรียนมีผลการประเมินเฉลี่ย (µ) อยู่ที่ระดับพอใช้ (1.60) เมื่อดำเนินกิจกรรเสริมประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจนถึงสัปดาห์ที่ 10 ผลปรากฏว่านักเรียน มีผลการพัฒนาดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ และในสัปดาห์ที่ 10 นักเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี (2.97) เมื่อพิจารณาผลการประเมินเฉลี่ยทั้ง 10 สัปดาห์อยู่ในระดับพอใช้ (2.45)
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดก่อนและหลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทัพ พบว่า ทักษะการฟังและการพูดหลังจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่า ก่อนจัดกิจกรรม จำแนกเป็นรายด้านได้ ดังนี้
ทักษะการฟังแล้วบอกหรือตอบคำถาม ก่อนจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.11 หลังจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.78 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 2.67 มีความก้าวหน้าร้อยละ 53.38
ทักษะการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง ก่อนจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยรวม 1.78 หลังจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.56 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 2.78 มีความก้าวหน้าร้อยละ 55.60
ทักษะการพูดบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ ก่อนจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.56 หลังจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.78 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 2.22 มีความก้าวหน้าร้อยละ 44.40