รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา ยุวดี ยะมะกะ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนบ้านเมืองอาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
ปีที่ทำการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านเมืองอาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง การอ่านจับใจความนิทาน เล่มที่ 2 เรื่อง การอ่านจับใจความเรื่องสั้น เล่มที่ 3 เรื่อง การอ่านจับใจความเพลง เล่มที่ 4 เรื่อง การอ่านจับใจความข่าว เล่มที่ 5 เรื่อง การอ่านจับใจความบทร้อยกรอง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.16/82.87 ซึ่งมีประสิทธิภาพ สูงกว่า เกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 40.56
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ ในระดับมาก ( = 4.47)