โครงการผู้บังคับบัญชาลูกเสือกลุ่มโรงเรียนที่24 : กรณีศึกษาโรงเรี
นายสินชัย อ่อนศรี รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร, 2557
บทสรุปการประเมินผลโครงการ
การประเมินผลโครงการผู้บังคับบัญชาลูกเสือกลุ่มโรงเรียนที่ 24 : กรณีศึกษาโรงเรียนคลองทรงกระเทียม มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการ 4 ด้าน คือ 1) ประเมินปฏิกริยาความพึงพอใจเกี่ยวกับโครงการ 2) ประเมินการเรียนรู้ตามเนื้อหาสาระการฝึกอบรม 3) ประเมินพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ 4) ประเมินผลลัพธ์ที่มีต่อโรงเรียนคลองทรงกระเทียม เป็นการประเมินผลด้วยการติดตาม (Follow Up Evaluation) เมื่อการฝึกอบรมเสร็จไปแล้ว 1 – 2 ปี โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการฝึกอบรมแบบเคิร์กแพทริก 4 ด้าน คือ 1) ประเมินปฏิกริยา (Reaction Evaluation) 2) ประเมินการเรียนรู้ (Learning Evaluation) 3) ประเมินพฤติกรรม (Behavior Evaluation) และ 4) ประเมินผลลัพธ์ (Result Evaluation) ซึ่งศึกษาจากประชากรเป็นข้าราชการครูที่สอนวิชาลูกเสือจำนวน 17 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 157 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ(Liket Scale) ที่ผู้ขอรับการประเมินสร้างขึ้น แบ่งเป็นแบบสอบถามสำหรับผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จำนวน 5 ตอน และแบบสอบถามสำหรับลูกเสือ จำนวน 2 ตอน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีการให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และหาค่าความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ (Item Objective Congruence : IOC) ตรวจสอบคุณภาพด้านความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยหาค่าแอลฟ่า( - Coefficient) ของครอนบาค (Cornbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับผู้บังคับบัญชาลูกเสือ 0.81 และได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับลูกเสือ 0.74 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยขอความร่วมมือข้าราชการครูที่สอนวิชาลูกเสือและนักเรียนที่เป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลและหาค่าสถิติด้วยเครื่องมือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป IBM SPSS Statistics Version 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผลการประเมินผลโครงการผู้บังคับบัญชาลูกเสือกลุ่มโรงเรียนที่ 24 : กรณีศึกษาโรงเรียนคลองทรงกระเทียมตามหลักเกณฑ์การประเมินผลโครงการโดยสรุป ดังนี้
1. การประเมินปฏิกิริยาความพึงพอใจเกี่ยวกับโครงการ พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือส่วนมากมีความพอพึงในในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.55 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในข้อ 1 วัตถุประสงค์ของการอบรมที่ระบุให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีโอกาสพัฒนาและวางแผนในการจัดการสอนกิจกรรมลูกเสือเป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน และในข้อ9 กิจกรรมในการอบรมสร้างเสริมทักษะในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 4.71 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 และมีความ
พึงพอใจน้อยที่สุด ในข้อ 20 บรรยากาศในการอบรมมีความเป็นกันเอง มีค่าเฉลี่ย 4.35 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
2. การประเมินการเรียนรู้ตามเนื้อหาสาระการฝึกอบรม พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือส่วนมากมีความคิดเห็นต่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.14 ซึ่งแต่ละด้านปรากฏผล ดังนี้
2.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือส่วนมากเห็นว่ามีความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด ในข้อ 4 ด้านผู้กำกับลูกเสือ มีค่าเฉลี่ย 4.76 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 และเห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุด ในข้อ พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มีค่าเฉลี่ย 4.41 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51
2.2 ด้านทักษะ พบว่าผู้บังคับบัญชาลูกเสือส่วนมากเห็นว่ามีทักษะมากที่สุด ในข้อ 12 สามารถนำไปความรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.71 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 และเห็นว่ามีทักษะน้อยที่สุด ในข้อ 11 ได้แนวทางที่สามารถนำแบบพิมพ์ลูกเสือไปใช้ในการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน ข้อ 14 สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกเสือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อ 15 สามารถใช้เทคนิค วิถีทางลูกเสือในการปฏิบัติงานได้ มีค่าเฉลี่ย 4.53 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51
2.3 ด้านเจตคติ พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือส่วนมากมีเจตคติต่อการฝึกอบรมมากที่สุด จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 16 ลูกเสือทุกนายสามารถเรียนรู้ได้ตามหลักสูตร ข้อ 17 การอบรมเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ข้อ 18 การอบรมช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและเพื่อนร่วมวิชาชีพ ข้อ 19 การฝึกอบรมเป็นความสง่างามของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มีค่าเฉลี่ย 4.41 มีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51 และมีเจตคติน้อยที่สุด ในข้อ 20 การอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีความจำเป็นและมีความสำคัญ มีค่าเฉลี่ย 4.35 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
3. การประเมินพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ พบว่า ผู้บังคับบัญชาลูกเสือส่วนมากเห็นว่ามีพฤติกรรมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.11 โดยมีข้อพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่มากที่สุด จำนวน 2 ข้อ คือ ข้อ 10 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.71 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 และข้อ 12 ปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดได้ และมีพฤติกรรมน้อยที่สุดในข้อ 9 สามารถสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ลูกเสือแบบย้อนกลับ(Backward Design)ได้ มีค่าเฉลี่ย 4.35 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
4. การประเมินผลลัพธ์ที่มีต่อโรงเรียนคลองทรงกระเทียม พบว่า ผู้บังบัญชาลูกเสือส่วนมากเห็นว่าเกิดผลลัพธ์ต่อโรงเรียนในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.48 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.12
โดยมีผลลัพธ์มากที่สุด ในข้อ 1 การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีส่วนส่งเสริมความสามารถของเหล่าลูกเสือ มีค่าเฉลี่ย 4.71 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.47 และมีผลลัพธ์น้อยที่สุด ในข้อ 14 วิธีการของขบวนลูกเสือช่วยส่งเสริมให้นักเรียนทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.18 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39
สำหรับการประเมินผลลัพธ์ที่มีต่อโรงเรียนคลองทรงกระเทียมของลูกเสือพบว่า ลูกเสือส่วนมากเห็นว่าเกิดผลลัพธ์ต่อโรงเรียนในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.39 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 โดยมีผลลัพธ์มากที่สุดในข้อ 1 การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีส่วนส่งเสริมความสามารถของเหล่าลูกเสือ มีค่าเฉลี่ย 4.57 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59 และมีผลลัพธ์น้อยที่สุด ในข้อ 3 การฝึกอบรมส่งผลให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.22 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66
.