การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล
การพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง
สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านระกาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนเด็กปฐมวัยทั้งหมด 16 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 5 ชนิด คือ (1)หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 เล่ม (2)แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (3)แบบประเมินพัฒนาการทางการเรียนรู้ด้านทักษะภาษา จำนวน 10 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.31 ถึง 0.69 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35 ถึง 0.71 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 (4)แบบบันทึกการสังเกต และ (5)แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และ t – test (Dependent Samples)
ผลปรากฏ ดังนี้
1.หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้รายงาน พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.66 / 83.75
2.หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 71
3.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ด้านทักษะภาษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.เด็กปฐมวัยมีความคิดเห็นต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจอง สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
โดยรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก (x-bar = 2.76)