การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจควา
แบบจิกซอว์ (Jigsaw)
ผู้วิจัย นายอ๊อด ขันเขียว
ปีที่พิมพ์ 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Designs มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw)
กลุ่มเป้าหมายเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนอ้อย ตำบลกวางโจน อำเภอ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) จำนวน 18 แผน ใช้เวลาเรียน 18 ชั่วโมง และชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) จำนวน 6 ชุด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) และระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ จากการทดลองพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 90.55/83.67
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ (Jigsaw) มีประสิทธิภาพเหมาะสม ครูผู้สอนจึงควรนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น