การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้รายงานนางราริน นันทพานิช
ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนวัดทุ่งลาดหญ้า “ลาดหญ้าวิทยา” จังหวัดกาญจนบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - experimental Research) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาระที่ 2 : การวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)สาระที่ 2 : การวัดพร้อมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาระที่ 2 : การวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดทุ่งลาดหญ้า “ลาดหญ้าวิทยา” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1จังหวัดกาญจนบุรีใช้วิธีแบ่งกลุ่มสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เพราะนักเรียนทั้ง 2 ห้องเป็นเด็กคละกันและมีความสามารถไม่แตกต่างกันจึงใช้วิธีจับฉลากห้องเพื่อให้ได้มาซึ่งห้องทดลองจำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบประเมินคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) และแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test
ผลการศึกษาพบว่า
1. คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)ด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสาระที่2 : การวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นภาพรวมในระดับมากที่สุด และ ตามลำดับ
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาระที่ 2 : การวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ 82.85/80.27ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาระที่ 2 : การวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการหาค่าความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนวัดทุ่งลาดหญ้า “ลาดหญ้าวิทยา”ที่เรียนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาระที่ 2 : การวัดพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)โดยสอนตามรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สาระที่ 2 : การวัดในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด