การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา
วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน
เทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต
ผู้วิจัย : นางอัญชิษฐา บุญสนอง
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณวิชาวิทยาศาสตร์ ที่สอนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สอนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณวิชาวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและ หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดด้วยตัวเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น ครูผู้สอนเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม และนักเรียนสามารถสรุปความรู้เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้