รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม(ปงประชานุxxxล) จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านปงท่าข้าม(ปงประชานุxxxล) จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน หลังจากใช้แบบฝึกทักษะแต่ละชุดๆละ10 ข้อ จำนวน 6 ฉบับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD.) และค่าการแจกแจงแบบ ที (t –test) ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 E1 / E2 มีค่าเท่ากับ 84.38 / 83.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะภาษาไทย อ่าน เขียนเรียนรู้สระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าความพึงพอใจรวมเฉลี่ย เท่ากับ 4.75 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 0.16 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ครูชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะให้นักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจน และ ครูชมเชยหรือให้รางวัลนักเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานสูงสุดสื่อที่ใช้มีความน่าสนใจโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29