เผยแพร่ผลงาน
โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์
ผู้วิจัย นายจรัญ เจดีย์รัตน์
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนและนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ ได้แก่ ครูผู้นิเทศจำนวน 7 คน และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบแบบสอบถามแบบสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test ค่า t – test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ มี ชื่อว่า ซี ไอพีอี (CIPE Model) ประกอบด้วย หลักการมุ่งเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบสัมพันธ์กัน และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ กระบวนการนิเทศ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองระดับความรู้ความสามารถ Classifying: C ขั้นตอนที่ 2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นิเทศ–ครู Establishing the Teacher Supervision Relationship : E ขั้นตอนที่ 3 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ Informing : I ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินงาน Pre Observation Conference :P และ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศ Evaluating: E โดยมีการกำกับ ติดตาม อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ
2. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศ อยู่ในระดับสูงมาก และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศมีสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับสูงมาก และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศของครู ผู้รับการนิเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศและครูผู้รับการนิเทศ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด