รายงานการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
พอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ประเมิน นายสัมนาการณ์ บุญเรือง
หน่วยงาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP MODEL ของสตัฟเฟลบีม ซึ่งประเมินใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) อีกทั้งศึกษาความพึงพอใจ ในการดำเนินงานตามโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 427 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูและบุคลากร กศน. จำนวน 38 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารและผู้แทนครู) ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักศึกษา ประชาชน จำนวน 382 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan : 1970 : 608) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบประเมินมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นสำหรับประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากร กศน. นักศึกษา ประชาชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD )
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีระดับผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถเรียงลำดับระดับการดำเนินการจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท ( x= 4.71) ด้านผลผลิต (x = 4.66) ด้านกระบวนการ (x = 4.63) และด้านปัจจัยนำเข้า (x = 4.53) ตามลำดับ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.1 ด้านบริบท (Context) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56–4.91) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล (x = 4.91) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ (x = 4.56) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.51–4.67) ส่วนข้อที่ 5 งบประมาณที่ได้รับมีความเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ ข้อที่ 6 มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนิน โครงการอย่างเพียงพอ ข้อที่ 7 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม และข้อที่ 8 ความพร้อมของสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x = 4.30–4.49) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ กิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษา ประชาชน สามารถนำกิจกรรมตามโครงการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (x = 4.67) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณที่ได้รับมีความเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมตามโครงการ (x = 4.33) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.51–4.84) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม (x = 4.84) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย มีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ (x = 4.51) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.4 ด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.57–4.77) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ บรรลุวัตถุประสงค์ทุกข้อ (x = 4.69) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือนดีขึ้น (x = 4.57) โดยทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า
2.1 ผู้บริหาร ครูและบุคลากร กศน. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักศึกษา ประชาชน มีความพึงพอใจต่อโครงการการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.62–4.78) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ กิจกรรมการเพาะเห็ด (x = 4.78) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ กิจกรรมการเลี้ยง ไก่ชน (x = 4.62)
2.2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ มีดังนี้ คือ เป็นโครงการที่ดีมาก ควรจัดให้มี การดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้อีก เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ เป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้ความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร