การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช
ชื่อผู้วิจัย วิรัตน์ จุติประภาค
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ในรูปแบบ CIPP และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะที่มีต่อโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ชั้นปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช ปีการศึกษา 2559 จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.904 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และระดับมาก 6 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียน
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ข้อ และระดับมาก 8 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การสนับสนุนจากบุคลากร หน่วยงานอื่น
3. ด้านกระบวนการ พบว่า โครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ และระดับมาก 7 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทินปฏิบัติงาน
4. ด้านผลผลิต
4.1 พบว่า โครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และระดับมาก 6 ข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เด็กสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เด็กมีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน
4.2 ความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมย่อย 7 กิจกรรม พบว่า โครงการมีความเหมาะสม ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ และระดับมาก 7 ข้อ